Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68936
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.ศุภชัย ศุภผล | - |
dc.contributor.author | ณัฐปกรณ์ ประเสริฐสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-21T05:40:39Z | - |
dc.date.available | 2020-07-21T05:40:39Z | - |
dc.date.issued | 2015-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68936 | - |
dc.description.abstract | Phradhamma Visutdhimongkol (Luangta Mahabua) was a Thai priest that dramatically influence social and political in Thailand over the past decade. He has brought a dramatic change in society, economy and politics in a wide range. This study will explore the political implications of his preaching since B.E. 2540 to 2554 with the purpose of comparing the content of sermons on the teachings of Buddhism, as well as other political contexts. Additionally, this study will examine the political implications of Luangta Mahabua’s teaching and social context that affected his thought, in order to obtain information about the role and implications of political capital by Luangta Mahabua. The concept of political communication will be use to analyse in this study, as well as the concept of state and religion, and the nature of Buddhism in Thailand. This study is a qualitative research that uses interpretive approach. The approach that presents here begin with the selection of 56 sermons, followed by a discussion of issues in qualitative data collection, and concluding by analyzing the result in comparison with the moral principles in Buddhist Scriptures and the political events at that period. The study found that the content of the sermon is consistent with the moral principles in Buddhist Scriptures and also consistent with the political events in certain period. This subsequently leads to the conclusion that Luangta Mahabua both actively influencing and passively influenced by society and politics. The issues of the preaching is commonly involved with himself and other people, with varied topics depend on people close to him during that time. The study also found that Luangta Mahabua is fully capable in all communication components based on the concept of political communication and the concept of cultural institutions that ties with elite society. The political implications in his preaching include characteristics of citizen and leader, and proper social and political environment according to “Dhamma” as defined by Luangta Mahabua | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | นัยยะทางการเมืองในธรรมเทศนาของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ) : กรณีศึกษากัณฑ์เทศน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำการเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง 2554 | en_US |
dc.title.alternative | The Political Implication in "Phradhamma Visutdhimongkol (Luangta Mahabua) Preaching : A Case Study of Preach Related to Political Leader from B.E. 2540-2554" | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว) เป็นพระสงฆ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมและการเมืองไทยอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานัยยะทางการเมืองในการเทศนาของหลวงตามหาบัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทียบเคียงเนื้อหาการเทศน์กับหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนารวมถึงบริบทแวดล้อมทางการเมือง และหานัยยะทางการเมืองจากคำสอนของหลวงตามหาบัว เพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูล บทบาท และนัยยะทางการเมืองของหลวงตามหาบัวต่อการเมืองไทยในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งบริบททางการเมืองและสังคมที่ส่งผลต่อหลวงตามหาบัว โดยใช้แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง เพื่อวิเคราะห์หลวงตามหาบัวในฐานะผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารทางการเมือง และใช้แนวคิดเรื่องรัฐกับศาสนาและลักษณะพุทธศาสนาในประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจคุณลักษณะของศาสนาต่อสังคมไทย รวมทั้งศึกษาแนวคิดทางการเมืองในพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาเทียบเคียงกับคำสอนของหลวงตามหาบัว รวมทั้งเอกสารงานศึกษาพระสงฆ์ต่อการเมืองไทยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการตีความ โดยทำการเลือกกัณฑ์เทศน์ที่จะศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงตามโควตาจากช่วงเวลาดังกล่าวจำนวน 56 กัณฑ์เทศน์ นำมาจัดระเบียบข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ตีความและสรุปผล โดยเทียบเคียงกับพระสูตรในพระไตรปิฎกและช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ทางการเมือง จากการศึกษาพบว่าเนื้อหาการเทศน์มีความสอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎก และการเทศน์หลักธรรมนั้นๆ สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา นำไปสู่การสรุปผลการศึกษาว่า หลวงตามหาบัวมีบทบาทต่อสังคมและการเมืองทั้งในฐานะของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำโดยประเด็นการเทศน์จะมีความเกี่ยวข้องกับตนโดยตรงหรือเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก โดยมีตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิผลต่อการเทศน์คือบุคคลใกล้ชิด และจากการศึกษายังพบอีกว่า หลวงตามหาบัวมีความสามารถทางการสื่อสารครบองค์ประกอบตามแนวคิดการสื่อสารทางการเมือง มีการจัดระเบียบทางวัฒนธรรมตามแนวคิดของสถาบันหลัก มีความผูกพันกับชนชั้นนำทางสังคม โดยนัยยะทางการเมืองมีการกล่าวถึงคุณลักษณะของประชาชน คุณลักษณะของผู้นำ และสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมืองที่พึงประสงค์ ที่เป็นไปตาม “ธรรม” ตามการนิยามของหลวงตามหาบัว | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.