Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68929
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิกุล พรพิบูลย์-
dc.contributor.authorจิราภรณ์ ธรรมสรางกูรen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:39:30Z-
dc.date.available2020-07-21T05:39:30Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68929-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to describe Advanced Practice Nurse (APN) practice quality in the Medical Nursing Division of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The sample of this study was purposively selected and included 2 nurse administrators, 8 head nurses or head of units, 15 APNs, 4 healthcare personnel who work with the APNs, 2 patients and documents related to the APNs practices. The conceptual framework of this study was the quality of health care developed by Donabedian (2003) which comprises of structure, process, and outcomes. The instrument used was the semi-structure guideline for interview and focus group discussion. Data were collected through document review, interviews, and focus group discussions and was analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The results of the situational analysis of the quality practice of APNs were: 1. The analysis of the structure found that there was a policy system for APN practices but that the policy implementation varied depending on the head nurses’ assignment. The position and career advancement of APNs were not clear. In addition, the distribution of APNs in each nursing unit was not appropriate. The three models of APN practices in the Medical Nursing Division were the full time APNs, part time APNs, and private practice of APNs. Pay was not appropriate to their knowledge, abilities and workloads. Suggestions include: develop the operational plan for APNs for every medical disease; develop role, function and career advancement; set up guidelines for assignment; allocate time, and provide offices and facilities to support APNs practices. 2. The analysis of the process found that APNs provide care to their patients following 9 competencies that the Thailand Nursing Council developed. However, the opportunity to practice depends on the characteristics of patients that were their target population and the assignment received from head nurses. The suggestions to nurse administrator were that they should provide an opportunity for APNs to perform their competencies as full-time APNs, and should develop the understanding of an APN’s role and competencies among health care professionals. 3. The analysis of outcomes found that APN practices effect patient outcomes, provider outcomes, and organizational outcomes. However the guidelines for outcome evaluation was not explicit. Therefore, the nurse administrators should develop the guidelines to evaluate APNs practices. The findings of this situational study will provide baseline information to develop a plan for improving the quality of APN practices in the Medical Nursing Division of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSituational Analysis of Practice Quality of Advanced Practice Nurses, Medical Nursing Division, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติ การพยาบาลขั้นสูง งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล 2 คน หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าหน่วย 8 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 15 คน บุคลากรด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานร่วมกับ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 4 คน ผู้ป่วย 2 คน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กรอบแนวคิดคุณภาพการดูแลสุขภาพของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) ที่ประกอบไปด้วย โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงพบว่า 1. การวิเคราะห์โครงสร้าง พบว่า ฝ่ายการพยาบาลมีนโยบายการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง แต่การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติในแต่ละหอผู้ป่วยมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการมอบหมายงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตำแหน่งและบันไดความก้าวหน้ายังไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน อีกทั้งการกระจายอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงไม่เหมาะสม รูปแบบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในงานการพยาบาลอายุรศาสตร์มีสามแบบได้แก่ ปฏิบัติงานในบทบาทเต็มเวลา ใช้เวลาบางส่วนในการปฏิบัติบทบาท และการจัดสรรเวลาส่วนตัวในการปฏิบัติบทบาท ค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และภาระงาน ข้อเสนอแนะได้แก่ควรจัดทำแผนการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในทุกโรคทางอายุรกรรม กำหนดบทบาทหน้าที่และบันไดความก้าวหน้า จัดทำแนวปฏิบัติในการมอบหมายงาน จัดสรรเวลา จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2. การวิเคราะห์กระบวนการ พบว่า ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงให้การดูแลผู้ป่วยตามสมรรถนะทั้ง 9 ตามที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยกำหนด แต่โอกาสที่จะปฏิบัติได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นประชากรกลุ่มเป้าหมาย และการมอบหมายงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ข้อเสนอแนะได้แก่ผู้บริหารทางการพยาบาลควรให้โอกาสกับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงได้ปฏิบัติงานตามสมรรถนะแบบเต็มเวลา และควรสร้างความเข้าใจให้บุคลากรด้านสุขภาพได้รับทราบบทบาทและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 3. สถานการณ์ด้านผลลัพธ์ พบว่า การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ต่อผู้ให้บริการ และต่อองค์กร แต่แนวปฏิบัติในการติดตามผลลัพธ์ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรกำหนดแนวปฏิบัติในการติดตามผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำผลการวิเคราะห์สถานการณ์ครั้งนี้ ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.