Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68922
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์-
dc.contributor.advisorผศ.ดร.รสริน โอสถานันต์กุล-
dc.contributor.authorปวิชญา กำแพงทิพย์en_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:38:26Z-
dc.date.available2020-07-21T05:38:26Z-
dc.date.issued2015-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68922-
dc.description.abstractThis study has the objective to examine the work environment as well as problems in the working life of personnel of the Highland Research and Development Institute (Public Organization) headquartered in Chiang Mai Province. The needed information was collected through questionnaire interview from totally 187 HRDI personnel, distinguishable into 96 field operational officers and 91 practitioner officers. The quality of working life was assessed upon eight aspects as indicators including 1) the adequate and fair compensation, 2) the safe and health wellness enhancing workplace environment, 3) the career advancement and security, 4) the opportunity for human resource development, 5) the working together and relationship with others at workplace, 6) the right to privacy, 7) the life tempo, and 8) the contribution to the society. The analysis was based on the results of descriptive statistics and Likert’ scale rating. In addition, t-test was performed to discern whether statistical difference exists between the field operational officers and the practitioner officers in terms of their perception about the quality of working life and problems arising from works and workplace environment. The findings on the part of field operational workers indicated that the majority of them can be described as female, single in marital status, 35 years old on the average, master’s degree graduate, holding the work position of officer level 3 – 5, having 7 years’ work experience with the HRDI, and earning 18,001 – 25,000 baht monthly income. Their overall quality of working life was assessed to be at good level. The highest rated indicator of quality of life in question appeared to be the contribution to the society for the attributes that the HRDI has been working in support of various Royal Project Development Centers and Royal Project’s Achievements Extension Projects to help improve the quality of life of the hill-tribe population with widely recognized successful results, and that the HRDI has worked in advocacy to get its personnel to have an awareness about contribution to the society. The second highest rated indicator was found to be the opportunity for human resource development for the attributes that one has the opportunity to fully use his/her knowledge and capability in the execution of his/her duty and tasks, and that the higher or supervisory level officers invariably give support to and encourage their sub-ordinates to attend various training courses. With respect to problems related to works and work conditions, as a whole there was a moderate degree of complaints. The most common problems encountered were the stress from works and the rather low level of monthly income and welfare provision considering the heavy burden of works. The second most common problem was the routine working procedure making it boring to perform the tasks. Among the practitioner officers under study, the majority can be characterized as female, married, 39 years old on the average, bachelor’s degree graduate, holding the work position of officer level 3 – 5, having averagely 7 years’ work experience with the HRDI, and earning monthly income in the range of 18,001 – 25,000 baht. Their quality of working life as a whole was considered to be at good level. The highest rated indicator of such quality of life was found to be the contribution to the society for the reasons that the HRDI has been working to support and reinforce the operations of various Royal Project Development Centers and Royal Project’ Achievements Extension Projects to improve the quality of life of the hill-tribe population with widely recognized successful results, and that the HRDI has worked in advocacy to get its personnel to have an awareness about contribution to the society. The second highest rated indicator was the life tempo in the sense that the works at workplace do not hamper the personal life thus enabling these officers to manage and allocate their time appropriately for office works, family, social activities, and private life. Meanwhile, problems related to works and work environment as a whole was assessed to be moderate. Specifically, the most serious common problem was the routine working procedure making it boring for these officers to perform well their tasks. The second most recognized problem appeared to be the partisan behavior and practice within the organization. Different results were obtained from the test of difference between the field operational officers and the practitioner officers in terms of their perception about the quality of their working life and problems arising from works and work environment. Both groups were statistically significantly different in their perception about the safe and health wellness enhancing work environment and the tempo of life, and specifically those practitioner officers rated their quality of working life resulted from these two aspects relatively higher than did the field operational officers. Meanwhile, there was no statistically significant difference between the two groups concerning different items of problems at workplace.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตในการทำงานของเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeQuality of Working Life of Officers in Highland Research and Development Institute (Public Organization), Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงานรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการสอบถามเจ้าหน้าที่ทั้งหมดจำนวน 187 ราย ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ภาคสนาม จำนวน 96 ราย และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวน 91 ราย การวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบด้วย 8 ด้าน คือ 1) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) ด้านสภาพทางการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ 3) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในหน้าที่การงาน 4) ด้านโอกาสในการพัฒนา ขีดความรู้ความสามารถ 5) ด้านการทำงานร่วมงานกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 6) ด้านสิทธิส่วนบุคคล 7) ด้านจังหวะชีวิต และ 8) ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการให้น้ำหนักโดยใช้มาตรวัด ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) นอกจากนี้ยังทำการทดสอบความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และปัญหาที่เกิดขึ้น จากการทำงาน ระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนามกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ โดยใช้สถิติค่า t (t-test) ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีอายุเฉลี่ย 35 ปี การศึกษาปริญญาโท เป็นเจ้าหน้าที่ระดับ 3-5 มีประสบการณ์การทำงานกับสถาบันฯ เฉลี่ย 7 ปี รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 18,001-25,000 บาท มีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี โดยมีคุณภาพชีวิตในการทำงานลำดับ 1 คือ ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันฯ ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวงเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้นจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และสถาบันฯ มีการรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อสังคม ลำดับ 2 คือ ด้านโอกาสในการพัฒนา ขีดความรู้ความสามารถ ซึ่งประกอบด้วย การมีโอกาสนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และผู้บังคับบัญชาสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น จากการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ลำดับ 1 คือ การมีความเครียดจากการทำงาน และเงินเดือนและสวัสดิการค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบ กับปริมาณงาน ลำดับ 2 คือ กระบวนการทำงานทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส มีอายุเฉลี่ย 39 ปี การศึกษาปริญญาตรี เป็นเจ้าหน้าที่ระดับ 3-5 มีประสบการณ์การทำงานกับสถาบันฯ เฉลี่ย 7 ปี รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 18,001-25,000 บาท มีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงาน ลำดับ 1 คือ ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันฯ ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวง เพื่อพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้นจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และสถาบันฯ มีการรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อสังคม ลำดับ 2 คือ ด้านจังหวะชีวิต ซึ่งประกอบด้วย การทำงานไม่เป็นอุปสรรค ต่อการดำเนินชีวิต และสามารถบริหารเวลาในการดำเนินชีวิตให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม สำหรับ การทำงาน ครอบครัว สังคม และตนเอง ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ลำดับ 1 คือ กระบวนการทำงานทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงาน ลำดับ 2 คือ การแบ่งพรรคพวกกันภายในหน่วยงาน ในการทดสอบความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนามกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ พบว่า มีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 2 ด้าน คือ ด้านสภาพทางการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และด้านจังหวะชีวิต โดยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนาม ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น จากการทำงาน เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.