Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68921
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ศุภชัย ศุภผล-
dc.contributor.authorดรัณ สิรีเลิศen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:38:20Z-
dc.date.available2020-07-21T05:38:20Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68921-
dc.description.abstractThe study “Policy Formulation Process of Nation Health Security for Kavila Subdistrict, Chiang Mai City Municipality” aimed to investigate the roles of Chiang Mai City Municipality in policy formulation process of National Health Security and study the participation of the local people in specifying their needs in the National Health Security policy. In addition, the study was based on different principles including policy network, public policy, public participation, and policy formulation, in the analysis and description of the policy formulation process of National Health Security. The data revealed that Chiang Mai City Municipality initiated the implementation of the National Health Security in the area. Since the Municipality had previously conducted activities related to health, they could establish health security funds at the local level. However, it was found that format, regulation management, and increasing of health service coverage relied on the integration of the Municipality and local people. The operations from only one party would not achieve the goals of the National Health Security Act. Furthermore, the interviews indicated that the Municipality, comprising of the administrators and officials, followed the regulations of the National Health Security fund management. That is there were representatives from the local communities in the board committee, there were seminars to educate the health volunteers about the principles and regulations, the projects were advertised, all the processes were successful, and the result from the evaluation was at an A level. Nevertheless, the data from the interviews suggested the differences and conflicts among communities. Some communities who could operate according to the regulations and were financially supported to continue their operations were satisfied with the Municipality. On the other hand, some communities thought that the Municipality’s regulations were complicated and difficult to implement. Consequently, they were not financially supported to continue their operations. This caused the lack of participation among local people, communities, and the Chiang Mai City Municipality in activities which could contribute to the services which would suit the needs of the communities. Therefore, it can be concluded that the policy formulation process of the National Health Security has not been highly successful; that is, it was moderately successful. This indicated that there was a lack of the participation between the Municipality and the communities. Furthermore, it can be suggested that in terms of the communities, they should be aware of the rights according to the Health Service Act.The community leaders and related persons in the project should also try to understand the Fund’s regulations for the health benefits of the communities to receive the service from the National Health Security Office. In terms of the Municipality, they should try to improve the evaluation to encourage the community leaders, who were lack of the knowledge of the process, to have more participation with the Municipality. This would help achieve the objectives of the Municipality’s health policy to provide opportunities for all communities to improve the living quality of the people since this was the role of the Municipality according to the National Health Security policy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleกระบวนการกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่แขวงกาวิละ เทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePolicy Formulation Process of Nation Health Security for Kavila Subdistrict, Chiang Mai City Municipalityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยหัวข้อ กระบวนการกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในพื้นที่แขวงกาวิละ เทศบาลนครเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของเทศบาลนครเชียงใหม่ในการกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการของตนเองในนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง แนวคิดเครือข่ายนโยบาย แนวคิดนโยบายสาธารณะ แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวคิดการกำหนดนโยบาย เพื่อการวิเคราะห์และอธิบายกระบวนการกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผู้วิจัยได้ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการริเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่นำนโยบายนี้มาใช้ในพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมเทศบาลฯก็มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขอยู่ก่อนแล้วจึงสามารถจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่รูปแบบ ระเบียบการจัดการ ความครอบคลุมด้านการบริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น แต่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งจากเทศบาลและชุมชนมาบูรณาการร่วมกัน มิใช่จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอันจะทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าเทศบาลฯอันประกอบไปด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลของกองทุนฯได้ดำเนินการตามระเบียบจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกประการ มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของชุมชนมาร่วมเป็นคณะกรรมการฯ มีการจัดการอบรมสัมมนาให้ความรู้ผ่านทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้เข้าใจถึงหลักการและระเบียบปฏิบัติ มีการประชาสัมพันธ์โครงการ มีการดำเนินการสำเร็จในทุกขั้นตอน และติดตามประเมินผลการดำเนินการซึ่งมีผลการประเมินในระดับ A แต่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชุมชนมีความแตกต่างกันอยู่บ้างและมีความเห็นขัดแย้งในระหว่างชุมชน บางชุมชนที่สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบของกองทุนฯก็มีความพึงพอใจในการดำเนินการของเทศบาลและได้รับการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณไปดำเนินการต่อในชุมชนของตน บางชุมชนมองว่าเทศบาลมีกฎระเบียบที่ยุ่งยากต่อการปฏิบัติและยากต่อการทำความเข้าใจในการดำเนินการจึงไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาดำเนินการในชุมชนของตน เป็นผลทำให้ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน ชุมชน และเทศบาลนครเชียงใหม่ในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อที่จะทำให้การบริการได้ตรงตามความต้องการของชุมชน ดังนั้นกระบวนการกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงยังจัดได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงตามหลักการ เป็นความสำเร็จในระดับกลางๆ ที่จัดเป็นกรณีศึกษาได้ถึงการดำเนินการที่ยังขาดการมีส่วนร่วมระหว่างเทศบาลกับชุมชน ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในการดำเนินการสองส่วนคือ ชุมชนต้องตระหนักในสิทธิตามพระราชบัญญัติในการขอรับบริการด้านสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการฯจะต้องพยายามทำความเข้าใจในระเบียบปฏิบัติของกองทุนฯ เพื่อให้ชุมชนเองได้รับประโยชน์จากโครงการฯอย่างเต็มที่ในทุกบริการของ สปสช. อันเป็นผลดีต่อสุขภาพพลานามัยของประชาชนในชุมชน ส่วนของทางเทศบาลนครเชียงใหม่ก็จะต้องพยายามประเมินผลการดำเนินการให้ดียิ่งขึ้นในส่วนของการกระตุ้นผู้นำชุมชนที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการ ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเทศบาลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตอันเป็นเป้าหมายทางด้านสาธารณสุขที่เทศบาลฯกำหนดเป็นนโยบายอยู่แล้ว เพราะสิ่งนี้เป็นบทบาทและหน้าที่ของเทศบาลในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.