Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68914
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยะนารถ จาติเกตุen_US
dc.contributor.authorวิกุล วิสาลเสสถ์en_US
dc.contributor.authorวาสนา ใจคำแปงen_US
dc.date.accessioned2020-07-16T07:37:21Z-
dc.date.available2020-07-16T07:37:21Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 41-51en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_1_379.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68914-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการบริโภคยาสูบในนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2548 กับ 2554 โดยใช้แบบสำรวจการบริโภคยาสูบสำหรับกลุ่มนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพระดับโลก วัสดุและวิธีการ: เป็นการสำรวจภาคตัดขวาง 2 ครั้งในนักศึกษาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีใน 2 ปีการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2548 และ 2554 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการบริโภคยาสูบสำหรับกลุ่มนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพระดับโลกฉบับภาษาไทยซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2549 และ 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version17.0 และ OpenEpi version 2.3 เพื่อคำนวณความชุกช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% และใช้สถิติไคสแควร์ในการเปรียบเทียบโดยทดสอบความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา: ในปีการศึกษา 2548 นักศึกษาตอบแบบสอบถามครบถ้วน จำนวน 354 คน (ร้อยละ 81.8) และในปีการศึกษา 2554 จำนวน 530 คน (ร้อยละ 86.9) ผลการศึกษาแสดงถึงแนวโน้มการการบริโภคยาสูบในนักศึกษาทันตแพทย์ไทยใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) พฤติกรรมการบริโภคยาสูบ (2) การได้รับควันบุหรี่มือสองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (3) ทัศนะต่อการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ (4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทในฐานะนักวิชาชีพสุขภาพและผลของการให้คำปรึกษาแก่คนไข้ และ (5) ประสบการณ์การเรียนรู้หัวข้อที่เกี่ยวกับบุหรี่ในมหาวิทยาลัย โดยผลการเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2548 กับ 2554 พบว่า การบริโภคยาสูบลดลงในทุกๆ ด้าน การได้รับควันบุหรี่มือสองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งที่บ้านและในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น มีทัศนะต่อการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะในเชิงบวกเพิ่มขึ้น มีความตระหนักต่อบทบาทของตัวเองเพิ่มขึ้น และประสบการณ์การเรียนรู้หัวข้อที่เกี่ยวกับบุหรี่ในมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2554 มีมากกว่าปีการศึกษา 2548 บทสรุป: แนวโน้มการบริโภคยาสูบในนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ Objective: This study aimed to compare tobacco use in two academic years, 2005 and 2011, by dental students at Chiang Mai University using the Global Health Professions Student Survey. Materials and methods: Two cross-sectional surveys of all dental undergraduates were conducted in academic years 2005 and 2011. A Thai language version of the self-reporting form of the Global Health Professions Student Survey (GHPSS) was used to collect data during January and February in 2006 and 2012. SPSS version 17.0 and OpenEpi version 2.3 were used to compute prevalence and 95% confidence intervals. Statistical analysis and comparison were carried out using the Chi-square test and were considered statistically significant at a p-value of less than 0.05. Results: In 2005, 354 students (81.8 %) and in 2011, 530 students (86.9%) completed questionnaires. The results illustrated tobacco use trends in dental students in terms of (1) tobacco use (behavior), (2) exposure to secondhand smoke in the past week, (3) attitudes toward banning smoking in public places, (4) opinion about health professional roles and the effect of patient counseling by health professionals and (5) learning experiences on smoking topics in dental school. These five trends of tobacco use were compared between academic year 2005 and 2011. All categories of tobacco use (behavior) declined. The exposure to secondhand smoke both at home and in public places increased. There was an increase in positive attitudes toward banning smoking in public places. The students in 2011 were more concerned about their roles than in 2005. The students’ learning experiences on smoking topics in dental school significantly increased. Conclusions: Tobacco use by dental students at Chiang Mai University revealed changes, both in favourable and unfavourable trends.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวโน้มการบริโภคยาสูบในนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิง บวกและเชิงลบen_US
dc.subjectTobacco use by dental students at Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectrevealed changes, both in favourable and unfavourable trendsen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการบริโภคยาสูบในนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2548 กับ 2554 โดยใช้แบบสำรวจการบริโภคยาสูบสำหรับกลุ่มนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพระดับโลกen_US
dc.title.alternativeComparison of Dental Students’ Tobacco Use at Chiang Mai University in Academic Years 2005 and 2011 using the Global Health Professions Student Surveyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.