Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68900
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มินตรา นาคธร | en_US |
dc.contributor.author | ปิยะนุช เพิ่มพานิช | en_US |
dc.contributor.author | สุพัตรา แสงอินทร์ | en_US |
dc.contributor.author | นิตยา โชติกเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-16T07:36:47Z | - |
dc.date.available | 2020-07-16T07:36:47Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), 107-115 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_1_316.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68900 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของการขูดหินน้ำลายต่อผิวรากฟันด้วยหัวขูดหินน้ำลายผีโซอิเลกทริก P5 (สลิม 1S และ คิวเรตต์ H3) และหัวขูดหินน้ำลายแมกนีโตสตริกทีฟ (P10) เทียบกับเครื่องมือขูดหินน้ำลายด้วยมือ (เกรซีดิวเรตต์ 1-2) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เตรียมผิวรากฟันด้านข้างจำนวน ซี่ สุ่มแบ่งฟันที่มีแถบหินน้ำลายใกล้เคียงกันออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับการขูดหินน้ำลายด้วยหัวขูดชนิดต่างๆ จนสะอาด (เมื่อมองด้วยตาเปล่า) บันทึกเวลาที่ใช้ในการขูดหินน้ำลายมีหน่วยเป็นวินาที่ จากนั้นนำผิวรากฟันมาประเมินด้วยดัชนีหินน้ำลายตกค้าง และดัชนีความขรุขระและการสูญเสียผิวรากฟันโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด วิเคราะห์เวลาที่ใช้ด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว และ ตูกีเทสต์ วิเคราะห์หินน้ำลายตกค้างความขรุขระและการสูญเสียผิวรากฟันด้วยสถิติครัสคอลวอลลิสเทสต์ ผลการศึกษา พบว่าหัวขูดชนิดสลิม 1S ใช้เวลาในการขูดหินน้ำลายน้อยที่สุดโดยใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ98±0.43 วินาที่ ส่วนหัวขูด H3 หัวขูด P10 และเกรซีคิวเรตต์ 12 ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 234±1.06 170±1.58 และ 131±1.50 วินาที ตามลำดับ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของเวลาที่ใช้ในการขุดหินน้ำลายระหว่างหัวขูดชนิดสลิม 1S เทียบกับหัวขูดคิวเรตต์ H3 (p<0.05) แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการมีหินน้ำลาย ตกค้าง ความขรุขระและการสูญเสียผิวรากฟันภายหลังการขูดหินน้ำลายด้วยหัวขูดชนิดต่างๆ โดยหัวขูดชนิดสลิม 1S และคิวเรตต์ H3 สามารถกำจัดหินน้ำลายได้ใกล้เคียงกับเกรซี่คิวเรตต์ 1-2 แต่ทำให้เกิดความขรุขระและสูญเสียผิวรากฟันน้อยกว่า สรุปผลการศึกษา หัวขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิกส์พีโซอิเลกทริก P5 ชนิดสลิม 1S และคิวเรตต์ H3 มประสิทธิผลไม่แตกต่าง จากหัวขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิกส์แมกนีโตสตริกทีฟ (P10) และเกรซีดิวเรตต์ 1-2 The objective of this study was to evaluate the effectiveness of calculus removal on root surfaces instrumented with two piezoelectric tips (1S and curette H3) and a magnetostrictive tip (P10) compared with a hand scaler (Gracey curette 1-2) Materials and methods: Sixty interproximal root surfaces with similarly sized bands of subgingival calculus were randomly assigned into four groups for four instrumentation techniques. They were scaled until clean as assessed by the naked eye and the time required was recorded as a unit of seconds. After treatment, all of the specimens were examined for Remaining Calculus Index (RCI) and Roughness and Loss of Tooth Substance Index (RLTSI) using scanning electron microscopy. Statistical analysis of the time required to remove calculus was based on a one-way ANOVA and the Tukey Test. The Kruskal Wallis Test was applied to test the differences in remaining calculus, roughness and loss of tooth substance. Results: The 1S tip required the shortest time to clean the surface; the mean time was 98±0.43 seconds. The mean time for the H3 and P10 tips and the Gracey curette 1-2 were 234±1.06, 170±1.58 and 131±1.50 seconds, respectively. Statistically significant differences in time (p<0.05) were observed between 1S and H3. The remaining calculus, roughness and loss of tooth substance were not significantly different among the four groups. However, the 1S and H3 tips seemed to have similar effectiveness in calculus removal to that of the Gracey curette 1-2 but caused less damage to the root surface. Conclusions: The 1S and H3 piezoelectric tips showed similar comparative effectiveness and effect on root surfaces to that of the P10 magnetostrictive tips and Gracy curettes 1-2. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผิวรากฟัน | en_US |
dc.subject | การขูดหินน้ำลาย | en_US |
dc.subject | เครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิกส์พีโซอิเลกทริก | en_US |
dc.subject | เครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิกส์แมกนีโตสตริกทีฟ | en_US |
dc.subject | กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด | en_US |
dc.subject | root surface | en_US |
dc.subject | scaling | en_US |
dc.subject | piezoelectric ultrasonic scaler | en_US |
dc.subject | magnetostrictive ultrasonic scaler | en_US |
dc.subject | scanning electron microscope | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการขูดหินน้ำลายต่อผิวรากฟันด้วยหัวขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิกส์ 3 ชนิดและเครื่องมือขูด หินน้ำลายด้วยมือ การศึกษาเปรียบเทียบในห้องปฏิบัติการ | en_US |
dc.title.alternative | The Effectiveness of Calculus Removal on Root Surfaces Instrumented with Three Ultrasonic Tips and a Hand Scaler, A Comparative in vitro Study | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.