Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68884
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | สุจิตตรา ชาตา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-16T07:36:46Z | - |
dc.date.available | 2020-07-16T07:36:46Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 107-117 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2557_35_1_349.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68884 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของปู่ ย่า ตา ยายผู้ดูแลหลัก ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเด็กที่ มีอายุตั้งแต่ 1-3 ปี โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากครอบครัวที่มีปู่ ย่า ตา ยาย เป็นผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1-3 ปีจำนวน 9 ครอบครัว ในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝางจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปของชนบทจากวิถีเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม ส่งผลต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว แม่เดิมเป็นผู้เลี้ยงดูกล่อมเกลาลูกต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงฝากลูกไว้กับปู่ย่า /ตา ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู ดังนั้นการศึกษาจึงพบว่า ยายมีบทบาทเป็นผู้เลี้ยงดูกล่อมเกลาเด็ก โดยมีทั้งที่ได้รับคำแนะนำและไม่ ได้รับคำแนะนำจากพ่อแม่เด็ก ทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไขชีวิตของ แต่ละครอบครัว โดยการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการเลี้ยง ดูนั้นเป็นของยาย สำหรับรูปแบบในการเลี้ยงดูเด็กพบว่า ผู้เลี้ยงดูรับรู้ว่าในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอันเนื่องจาก เศรษฐกิจ เมื่อแม่ต้องออกไปทำงาน ยายก็เกิดความสงสาร หลานจึงมักแสดงออกด้วยการดูแลหลานเป็นอย่างดีแตก ต่างจากลูก โดยการให้ขนมเป็นรูปแบบหนึ่งของการเลี้ยง ดูที่แสดงออกเพราะสงสารหลาน ผู้เลี้ยงดูรับรู้ว่าเด็กสมัย นี้มีความสามารถมากกว่าสมัยก่อนในเรื่องพัฒนาการ การ ที่เด็กแปรงฟันได้ด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ยายชื่นชม ยาย รับรู้ว่าควรเริ่มแปรงฟันให้เด็กเมื่อมีฟันขึ้นมากแล้วเมื่อเด็ก มีอายุประมาณ 2 ขวบ โดยเห็นว่ามีฟันน้อยซี่การเช็ดก็เพียง พอ รวมถึงการดื่มนมเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เกิดฟันผุ และมีเด็กตัดสินใจเองว่าอยากแปรงฟันเนื่องจากต้องการ แปรงฟันเหมือนพี่โดยที่ยายหรือแม่ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการ แปรงฟันครั้งแรกของหลาน นอกจากนี้วิถีชีวิตเดิมของยาย เป็นวิถีเกษตรกรรมซึ่งการเลี้ยงลูกอยู่กับนา อาหารได้จาก ธรรมชาติ ร้านค้า ขนม มีน้อย ปัญหาเรื่องฟันผุมีน้อยแม้ ไม่ได้แปรงฟัน ทำให้ยายไม่เห็นว่าการแปรงฟันนั้นมีความ สำคัญ รวมถึงจากการศึกษานี้ยังพบว่ายายที่เลี้ยงเด็กวัยนี้ ไม่ได้รับรู้รูปแบบวิธีการเลี้ยงดูจากสื่อโทรทัศน์ สื่อเอกสาร เนื่องจากวิถีกิจวัตรของยายหมดไปกับการเลี้ยงดูหลาน ดัง นั้น หากจะส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาพช่องปากเด็กเล็กที่ดี ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขวิถีชีวิตของปู่ย่า-ตา ยายเพื่อเพิ่มโอกาสให้สามารถจัดสรรเวลาเพื่อดูแลสุขภาพ ของเด็กด้วย The objective of this research was to study the lifestyle of the grandparents, main caregiver, who had the relationship with the oral health of the 1-3 years-old children. The researchers used the descriptive research by gathering the information with indepth interview and participatory observation from 9 families which had grandparents as the main raiser for the 1-3 years-old children in the area of Baan Lao Sub-district, Baan Phang District, Khon Kaen Province. The research result showed that the social condition was changed from the agricultural lifestyle to be the industrial lifestyle which affected the lifestyle of people. The duty was changed in the family. In the old time, a mother took care of her child. In this time, a mother had to work outside, so she left her child with the grandparents to take care. Therefore, the researchers found that the grandmothers had the important role to take care and teach children with or without the advice from the parents depending on the life criteria of each family. The grandmothers decided the taking care style. The taking care style was from the raiser was aware that there were some differences from the past because of the economic situation. When the mother went to work, the grandmother was pity with her grandchildren. Consequently, the grandmother took care of her grandchildren very well different from her children. Giving the dessert was one form of taking care because of she was pity on her grandchildren. The raiser knew that now the children had more development than before. Brushing their own teeth was admired by their grandmothers. The grandmother understood that it should be better to brush their grandchildren’s teeth after there were many teeth or when their grandchildren were at 2 years old. They thought that if their grandchildren still had a few teeth wiping the teeth was clean enough. Also, only drinking milk was not able to cause the decay of the teeth. In addition, the grandchildren made their own decision to brush their own teeth because they wanted to brush their teeth as same as their older brothers or sisters did. The grandmothers did not decide about their grandchildren’s first teeth brushing. In addition, the former lifestyles of the grandmothers were agricultural and they took care their children at the rice field, brought the food from the nature, and there were fewer groceries to sell the dessert and snack. Therefore, there were less tooth decays even though the children did not brush their teeth. As a result, the grandmothers did not think that brushing the teeth was important. Also, this study found that the grandmothers at this age raising their grandchildren without knowing how to raise the grandchildren from the television, and document, because most of the time of the grandmothers was gone with raising their grandchildren. Therefore, if someone wants to encourage the good oral health of the young child, he/she should consider the criteria of the grandparents’ lifestyles to increase the opportunity to be able to manage the time for taking care of the children’s health. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สุขภาพช่องปากเด็ก 1-3 ปี | en_US |
dc.subject | oral health of 1-3 years-old child | en_US |
dc.title | วิถีชีวิตของปู่ ย่า ตา ยายผู้ดูแลหลักที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 1 - 3 ปีตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น | en_US |
dc.title.alternative | Lifestyles of Grandparents, main caregiver, related to Oral health of Children age 1-3 years Baan Lao, Bann Phang District, Khon Kaen Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.