Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68808
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.contributor.authorนุชนาต สุนทรลิ้มศิริen_US
dc.contributor.authorพจนีย์ ภาคภูมิen_US
dc.contributor.authorนิศาชล รักสกุลen_US
dc.contributor.authorปริญญา คลี่สกุลen_US
dc.contributor.authorอดิศักดิ์ พวงสมบัติen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 25-34en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240723/164052en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68808-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเป็นสื่อดิจิตอลที่มีรูปแบบใหม่ทันสมัยน่าสนใจ จัดว่าเป็นสื่อทางเลือกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่อง “บทบาทของพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” ที่มีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งหมด 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนนิกส์มัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” มีประสิทธิภาพ 73.54/85.00 โดยกลุ่มตัวอย่างสามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้เป็น 73.54 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 85.00 เปอร์เซ็นต์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 3.657, p.001) และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean=4.25) ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” เป็นสื่อดิจิตอลที่มีคุณภาพดีทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอสามารถช่วยพัฒนาความรู้และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาล แต่ควรมีการพัฒาปรับปรุงต่อไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน การศึกษาด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 Multimedia electronic books are a new form and interest digital media which are rapidly becoming an alternative form of self learning in the 21 century. The objectives of this developmental research are: 1) to develop an effective multimedia electronic book on Role of Nurse in Postpartum Family Planning; 2) to study learning achievement after used multimedia electronic book; and 3) to investigate the satisfaction of students towards the use of the proposed multimedia electronic book. Thirty fourth year nursing students were specifically selected as the samples to be used in this research. The research tools deployed in this work were; 1) multimedia electronic book on Role of Nurse in Postpartum Family Planning; 2) evaluation of learning achievement forms; and 3) questionnaire of sutdents satisfaction towards the multimedia electronic book. Finally, descriptive statistics and paired t-test were used to analyse the data. The results of this study reveal that: 1) efficiency of the multimedia electronic book on Role of Nurse in Postpartum Family Planning was at 73.54/85.00. It was found that the average score of the samples was 73.54% and 85.00% of the samples managed to achieve all objectives. 2) the learning achievement after study was statistically significantly higher than the pretest (t 3.657, p.001) and 3) students satisfaction level on the multimedia electronic book was placed at “highly satisfied” for both the content and design of the book with an overall mean of 4.25. The conclusion from this study is that the multimedia electronic book on Role of Nurse in Postpartum Family Planning is an excellent approach for self study in terms of the content, design, and presentation. It helps nursing students develop basic knowledge and increases learning efficiency. It is recommended that multimedia electronic book should be improved in order to reach effectiveness as criteria and appropriate for further develope skill of learning in 21th century.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหนังสืออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectบทบาทพยาบาลen_US
dc.subjectการวางแผนครอบครัวหลังคลอดen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.titleการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทของพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด”en_US
dc.title.alternativeDevelopment of a Multimedia Electronic Book “Role of Nurse in Postpartum Family Planning”en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.