Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ โพธิดาราen_US
dc.contributor.authorธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 463-475en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241836/164618en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68791-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตด้วย FANCAS ถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแบบประเมินนี้ สามารถลำดับปัญหาได้รวดเร็วและครอบคลุมทุกปัญหาที่คุกคามชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนา ใช้กรอบแนวคิดในการประเมิน (assessment framework) ของ แฟนคัส (fancas) โดย Dr. June C. Abbey (Holloway,1979) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาผลการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัสต่อความรู้ความสามารถของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 146 คน อาจารย์ผู้นิเทศนักศึกษาจำนวน 8 คน สุ่มแบบเลือกเจาะจง เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามความรู้ความสามารถของนักศึกษาพยาบาลโดยให้นักศึกษาพยาบาลประเมินตนเองและอาจารย์ผู้นิเทศนักศึกษาประเมินนักศึกษาพยาบาล ชุดที่2 แบบสอบถามความคิดเห็นการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัส โดยให้นักศึกษาพยาบาลประเมินด้วยตนเอง และอาจารย์ผู้นิเทศนักศึกษาพยาบาลประเมินการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัส ด้วยตนเอง ชุดที่3 แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัส โดยนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์นิเทศนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือทั้ง 3 ชุด ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎี และกรอบแนวคิดในการประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤต การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับได้ 0.92 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 0.87 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเชิงคุณภาพใช้สถิติ ไควสแควร์ และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติอะโนวา ผลการศึกษา พบว่า 1.นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ความสามารถในการใช้แบบประเมินสภาพผู้ป่วยภาวะวิกฤติสร้างจากรูปแบบแฟนคัส อยู่ในระดับปานกลาง( =3.38,S.D=.741) และผลการประเมินความรู้ความ สามารถของนักศึกษาพยาบาลโดยอาจารย์นิเทศนักศึกษา อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06,S.D =.550 ) 2.นักศึกษาพยาบาลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤติสร้างจากรูปแบบแฟนคัส อยู่ในระดับมาก( =3.96,S.D=.676) และอาจารย์นิเทศนักศึกษา มีความคิดเห็น อยู่ในระดับ มากเท่ากัน ( =4.19,S.D =.711 ) 3.นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัสอยู่ในระดับมาก ( =3.83,S.D=.690) และอาจารย์นิเทศนักศึกษาพยาบาล มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินภาวะวิกฤตสร้างจากรูปแบบแฟนคัส อยู่ในระดับมากเท่ากัน ( =4.61,S.D=.513) 4.เมื่อเปรียบเทียบความรู้ความสามารถ ความคิดเห็นและความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาลและผลการประเมินความรู้ความสามารถของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้นิเทศนักศึกษาพยาบาล ต่อการใช้แบบประเมินภาวะผู้ป่วยวิกฤติสร้างจากรูปแบบแฟนคัส ไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัย ครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการเรียนสอนและใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง Simulation Base Learning (SBL) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ใน การเตรียมความพร้อมและความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษาพยาบาล Assessing critically ill patients with FANCAS is used in the nursing practicum course. The evaluation form is useful for sequencing patients’ health problems and covering life-threatening issues. This descriptive research was aimed to evaluate the levels of knowledge and ability, opinions, and satisfaction among third-year nursing students and nursing instructors towards the critically ILL patients assessment form. The Fancas assessment framework by June C. Abbey (1979) served as the conceptual framework for this research. This research was conducted with 146 junior-year nursing students and 8 nursing instructors selected by the purposive sampling method between June and July 2019. Data were collected using a five-rating scale questionnaire comprising three parts: 1) knowledge and ability of nursing students to used the critical patient assessment form; 2) opinions of nursing students to use of critical assessment forms; and 3) satisfaction of nursing students to using the critical patient assessment form. The whole instrument was tested for content validity by three experts and the content validity index was 0.92. Cronbach’s alpha coefficient reliability was 0.87. Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, and test for statistical differences (ANOVA). The research findings were as follows: 1.Nursing students had a moderate level of the knowledge and ability to use the Critical Care Assessment Form ( = 3.38, SD = .74). In addition, the evaluation by nursing instructors found that the ability of nursing students was moderate level ( = 3.06, SD = .55). 2.The opinions of nursing students and nursing instructors about using the Critical Patient Assessment Form constructed the Fancas model were high level, ( = 3.96, S.D = .68) and ( = 4.19, S.D = .71), respectively. 3.Nursing students’ satisfaction was high while using the Critical Care Assessment constructed form, the Fancas model (= 3.83, SD = .69). Also, nursing instructors had a high level of satisfaction with the use of the crisis assessment constructed form ( = 4.61, S.D = .51). 4.There were no statistical differences in knowledge, ability, comments and satisfaction of nursing students and the result of competency evaluation of students by nursing instructors. Preparing nursing students for clinical practices and developing confidence is important for nursing education. Therefore, the results of this research could be offered to enhance nursing students’ training program in Simulation Base Learning.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะวิกฤตen_US
dc.subjectแบบประเมินแฟนคัสen_US
dc.subjectความคิดเห็นen_US
dc.subjectความรู้ความสามารถen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.titleผลของการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตตามแนวคิดแฟนคัสในกระบวน วิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลen_US
dc.title.alternativeEffects of Using a Critically ILL Patients Assessment from According to FANCAS Concept in Nursing Practicum Courseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.