Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68789
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลัดดา มีจันทร์en_US
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์en_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 394-405en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241830/164612en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68789-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการรับส่งเวรทางการพยาบาลเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยจากพยาบาลเวรหนึ่งไปยังพยาบาลเวรถัดไป เพื่อให้เกิดคุณภาพในการดูแลที่ต่อเนื่อง และผู้ป่วยปลอดภัย การศึกษาเชิงพัฒนานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โฟกัสพีดีซีเอ ของ Deming (1993) อ้างใน McLaughlin & Kaluzny (1999) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ ค้นหากระบวนการปรับปรุงคุณภาพ สร้างทีมงานที่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ ทำความเข้าใจในกระบวนการที่จะปรับปรุง ทำความเข้าใจสาเหตุของความแปรปรวนในกระบวนการ เลือกกระบวนการที่ต้องการปรับปรุง วางแผนการปรับปรุง นำแผนสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบการปฏิบัติ ยืนยันการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม แบบสังเกตการปฏิบัติของทีมผู้ปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในอนาคต และแบบบันทึกอุบัติการณ์ที่เกิดจากการรับส่งเวรทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โฟกัสพีดีซีเอ และเทคนิคการสื่อสารแบบ SBAR ทีมผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติการรับส่งเวรทางการพยาบาลได้ถูกต้องครบถ้วน มากกว่าร้อยละ 96 และไม่พบอุบัติการณ์จากการรับส่งเวร ทีมผู้ปฏิบัติทุกคนมีความพึงพอใจต่อแนวทางรับส่งเวรทางการพยาบาล เนื่องจากมีกระบวนการชัดเจน ได้ประเด็นสำคัญ และกระชับเวลา มีหลักฐานการส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วย ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในอนาคต คือ ทีมผู้ปฏิบัติยังมีการส่งประเด็นปัญหา หรือความเสี่ยงของผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุม ผู้ส่งเวรบางคนยังศึกษาข้อมูลไม่ครอบคลุมก่อนส่งเวร และผู้รับเวรบางคนยังขาดการตรวจเยี่ยมประเมินผู้ป่วยก่อนรับเวร ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงการรายงานข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเปลี่ยนเวรพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมการรับส่งเวรที่ดี มีมาตรฐานการปฏิบัติร่วมกัน เกิดประโยชน์ต่อพยาบาลผู้ปฏิบัติและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำแนวทางดังกล่าว ไปพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหน่วยงานอื่นต่อไป Nursing handover is a method to communicate important patient information from one nurse shift to another shift in order to ensure quality continuing care and patient safety. The purpose of this developmental study was to improve the quality of nursing handover in the Surgical Intensive Care Unit at Uttaradit Hospital using the FOCUS-PDCA continuous quality improvement process. This method consists of nine steps: find a process to improve; organize a team that knows the process; clarify current knowledge of the process; understand causes of process variation; select the process improvement; plan the improvement; do the improvement; check the results; act to hold the gain and continue improvement Deming 1993, as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999). Participants included thirteen registered nurses. The research instruments were interview guidelines, an observation checklist, satisfaction, barriers and suggestions for quality improvement of nursing handover in the future and the record of incidents caused by nursing handover. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. Results revealed that after using the FOCUS-PDCA continuous quality improvement process and SBAR technique for communication, registered nurses could correctly and completely perform more than 96 percent of nursing handover protocol and no incidents were found from nursing handover. All registered nurses were satisfied with the nursing handover protocol because of the clarity of the critical issues of patients which saved time. There was evidence of referrals for patient care information. Problem and suggestions for quality improvement of nursing handover in the future included incomplete critical or risk issues, some nurses did not completely review the patient’s data and did not visiting assess patients before performing nursing handover. The results of this study showed that improving the way nurses report patient information during the change of shift contributes to good nursing handover culture. There is a common practice standard, beneficial for nurse to perform the nursing handover process and a good outcome to patient. As a result, nursing administrators can apply this protocol to improve the quality of nursing handovers in other units.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับส่งเวรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectารพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectผู้ป่วยหนักศัลยกรรมen_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์en_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Nursing Handover, Surgical Intensive Care Unit, Uttaradit Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.