Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68779
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ |
Other Titles: | Factors Related to Readiness for Hospital Discharge Among Older Patients Undergone Coronary Artery Bypass Grafting |
Authors: | รุจิรา ถูกใจ ภารดี นานาศิลป์ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์ |
Authors: | รุจิรา ถูกใจ ภารดี นานาศิลป์ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์ |
Keywords: | การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ;ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล;คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย;การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 274-285 |
Abstract: | เมื่อผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจออกจากโรงพยาบาล จึงต้องมีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านอย่างปลอดภัย ลดการเกิดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้แก่ อายุ เพศ รายได้ ลักษณะการอยู่อาศัย ประสบการณ์การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่แพทย์อนุญาตให้จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 52 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการใช้ แบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และแบบสอบถามการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ซึ่งนำไปทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .84 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 69.23) มีอายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 71.16) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 50) อาศัยอยู่กับคู่สมรสและบุตรหลาน (ร้อยละ 48.08) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่เคยมีประสบการณ์การเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด หัวใจ และมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 11.81 วัน กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และคะแนนการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านการบำบัดทางการพยาบาล ได้แก่ คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล (r= .524, p < .01; r= .432, p < .01 ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพในการวางแผนการจำหน่าย เพื่อเตรียมความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลแก่ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้อย่างเหมาะสมต่อไป When older patients who have undergone coronary artery bypass grafting (CABG), there needs to be careful preparation from the patients, their family members and caregivers so they can achieve a safe recovery at home and minimize any problems and complications that may occur. The purpose of this study was to explore the relationship between related factors and readiness for hospital discharge among older patients who have undergone CABG including age, gender, income, living arrangement, previous experiences with CABG, length of hospital stay, quality of discharge teaching and care coordination before discharge. The samples were selected from patients being discharged from Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital. There were 52 older patients who had undergone CABG that were selected by purposive sampling method. Data were collected by using the Readiness for Hospital Discharge Scale, the Quality of Discharge Teaching Scale and the Care Coordination Scale. All were tested with a value of Cronbach’s alpha reliability coefficient of .80, .84 and .83 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, the Point biserial coefficient of correlation and the Pearson’s product moment correlation. The results of this study showed that: The samples had a high level of readiness for hospital discharge. Majority of samples were male (69.23 percent) and 60 to 69 years old (71.16 percent), with an average monthly income of less than 5,000 baht (50 percent), and lived with their spouses and children (48.08 percent). This was all the samples first experience in undergoing a CABG and the average length of hospital stay was 11.81 days. The scores of quality of discharge teaching and the scores of care coordination before discharge were at a high level. Nursing therapeutic factors including quality of discharge teaching and care coordination before discharge had a positive correlation with readiness for hospital discharge at a significant level of p< .01 (r=.524, r=.432 respectively). For patient related factors and hospitalization factors, the correlation with readiness for hospital discharge were not statistically significant. These findings provide baseline information for nurses and healthcare providers on appropriate discharge planning preparation for older patients who have undergone CABG. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241819/164602 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68779 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.