Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68726
Title: | ผลของสารสกัดจากเครือตดหมูตดหมาในการควบคุมด้วงงวงข้าว |
Other Titles: | EffectsofCrude Extract from Fever Vine(Paederia linearisHook. f.)in ControllingRice Weevil(Sitophilus oryzaeL.) |
Authors: | ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ |
Authors: | ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ |
Keywords: | เครือตดหมูตดหมา;การฆ่า;การไล่;การบับยั้งการเจริญเติบโต;ด้วงงวงข้าว |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 36,2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 225-233 |
Abstract: | ปัญหาในการเก็บรักษาข้าวคือการติดต่อและการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วงงวงข้าวเป็นหนึ่งในแมลงศัตรูหลักของข้าวสารในประเทศไทย วัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากเครือตดหมูตดหมาในการเป็นสารไล่ สารฆ่าและสารยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าว ที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5, 1.0, 2.0, 4.0 และ 8.0% (w/v) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) ความเข้มข้นละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ผลการทดลองพบว่าผลสารสกัดจากเครือตดหมูตดหมามีผลต่อการไล่ การฆ่า และการยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าวได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ที่ความเข้มข้น 8% มีประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่ สารฆ่า และสารยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าวสูงสุด โดยมีผลต่อการไล่ด้วงงวงข้าวเฉลี่ย 9.60 + 0.48 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไล่ 92% ที่เวลา 12 ชั่วโมง และมีผลต่อการไล่ด้วงงวงข้าวสูงสุดเฉลี่ย 10.00 + 0.00 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไล่ 100% เวลา 24 ชั่วโมง มีอัตราการตายของด้วงงวงข้าวสูงสุด 100% ค่า LC50 มีค่าเท่ากับ 1.62 และ 0.89% ในชั่วโมงที่ 24 และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ ในการเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโต มีจำนวนตัวเต็มวัยที่ฟักออกมาเท่ากับ 0.40 + 0.48 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการออกลูกหลาน 98.84% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเท่ากับ 52.20 + 1.72 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมมีจำนวนตัวเต็มวัยที่ฟักออกมาเท่ากับ 34.60 + 3.55 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการออกลูกหลาน 0.0% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเท่ากับ 29.60 + 0.74 วัน The problem in rice storageis the infestation and damage by insect pests of rice. Especially, the rice weevil, Sitophilus oryzae L., is one of the major insects in rice production in Thailand.The objectives are to study the effects of extract from fever vine, Paederia linearisas the repellent, insecticidal and progeny deterrenton rice weevil. The various concentrations of extract from fever vine at0, 0.25, 0.5, 1, 2, 4 and 8% (w/v) were applied. The treatments were arranged in a completely randomized design (CRD) and replicated 5 times on 10 adults. The experiment was conducted in laboratory at 25-27°Cand 75-80% RH. The results found that the repellent, insecticidal and progeny deterrentof extract form fever vine on the rice weevilwere significantly effective (P<0.05) when compared with the untreated control. At the concentration of 8%, of extract form fever vine wasthe highest effective as the repellent, insecticidal and progeny deterrenton rice weevil.The repellent of rice weevil was 9.60 +0.48 adults (PR=92%) at 12 h and the highest 10.0 +0.00 adults (PR=100%)at 24 h. The percent of mortality on the rice weevil was the highest value 100% and the LC50value with 1.62 and0.89%at 24 and 48h, respectively. In the progeny deterrent, the number of progeny was 0.40 +0.48 adults, percent of progeny deterrentwas98.84% and developmental time was 52.20 +1.72 days. Whereas in untreated control, the number of progeny was 34.60 +3.55 adults, percent of progeny deterrentwas0.0% and developmental time was 29.60 +0.74 days. |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/183462/165615 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68726 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.