Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68622
Title: การศึกษาเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีผลต่อความแข็งผิวระดับจุลภาคและความหยาบของฟันมนุษย์
Other Titles: The Study of Rice Gel as Bleaching Carrier on Microhardness and Roughness of Human Tooth
Authors: ณัฐกร กิติศรี
ศิริพร โอโกโนกิ
สาครรัตน์ คงขุนเทียน
พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์
Authors: ณัฐกร กิติศรี
ศิริพร โอโกโนกิ
สาครรัตน์ คงขุนเทียน
พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์
Keywords: เจลฟอกสีฟัน;ความแข็งผิวระดับจุลภาค;ลักษณะ จุลสัณฐานวิทยา;เจลข้าว;ความหยาบผิว
Issue Date: 2563
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 41,1 (ม.ค.-มี.ค. 2563) น.69-80
Abstract: วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีผลต่อความหยาบและความแข็งผิวระดับจุลภาคของฟันมนุษย์เปรียบเทียบกับเจลฟอกสีฟันทางการค้า วัสดุและวิธีการ: เตรียมตัวอย่างผิวเคลือบฟันมนุษย์จำนวน 84 ชิ้น แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ชิ้น สำหรับทดสอบกับเจลฟอกสีฟันชนิดต่างๆ ได้แก่ 1) เจลข้าวผสม สารฟอกสีฟันความเข้มข้นร้อยละ 10 2) เจลฟอกสีฟันทางการค้าความเข้มข้นร้อยละ 10 3) เจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันความเข้มข้นร้อยละ 20 4) เจลฟอกสีฟันทางการค้าความเข้มข้นร้อยละ 20 5) เจลฟอกสีฟันทางการค้าความเข้มข้นร้อยละ 35 เป็นกลุ่มควบคุมผลบวก 6) เจลข้าวเป็นกลุ่มควบคุมผลลบ 7) น้ำลายเทียมเป็นกลุ่มการรักษา หลอก วัดค่าความหยาบผิว ความแข็งแรงผิวระดับจุลภาคแบบวิกเกอร์และวิเคราะห์ลักษณะจุลสัณฐานวิทยาของพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดวิเคราะห์ค่าความหยาบผิวและความแข็งผิวระดับจุลภาคด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าความหยาบผิวและค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคในแต่ละกลุ่มทดลอง ส่วนลักษณะทางจุลสัณฐานวิทยาของพื้นผิวฟันพบว่ากลุ่มเจลฟอกสีฟันทางการค้า (กลุ่มที่ 2, 4 และ 5) ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยพบลักษณะผิวไม่เรียบมีรูพรุนขนาดเล็กกระจายทั่วไป ขณะที่กลุ่มที่ฟอกด้วยเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟัน (กลุ่มที่ 1 และ 3) กลุ่มเจลข้าวที่ไม่ผสมสารฟอกสีฟัน (กลุ่มที่ 6) และกลุ่มน้ำลายเทียม (กลุ่มที่ 7) พบผิวฟันเรียบไม่มีรูพรุน สรุป: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าความหยาบผิวและค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคของฟันมนุษย์ระหว่างเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันและเจลฟอกสีฟันทางการค้า Objectives: The purpose of this study was to investigate the effects of rice gel with bleaching agents on human tooth roughness and microhardness compared with commercial bleaching gels. Methods: Eighty four human tooth samples were prepared and randomly divided in to 7 groups (N=12). The samples were bleached with 7 gels as follow : 1) 10% rice gel with bleaching agents 2) 10% commercial bleaching gel 3) 20% rice gel with bleaching agents 4) 20% commercial bleaching gel 5) 35% commercial bleaching gel as a positive control 6) rice gel as a negative control 7) artificial saliva as a placebo. Surface roughness, Vicker’s microhardness and scanning electron microscopy were tested. The average of surface roughness and Vicker’s microhardness were compared using the One-way ANOVA test (p<0.05). Results: No significant differences in surface roughness and Vicker’s microhardness among the groups was found. For surface morphology of the commercial bleaching gels (Groups 2, 4 and 5), the enamel surface textures showed partiallyetched surfaces with many shallow depressions, whereas the surface morphology of the rice gels with bleaching agents (Groups 1 and 3), the rice gel (Group 6) and the artificial saliva (Group 7) showed smooth and clear surfaces. Conclusions: No Significant differences in surface roughness and Vicker’s microhardness on human tooth was found between rice gel with bleaching agents and commercial bleaching gels.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2563_41_1_539.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68622
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.