Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68607
Title: การประเมินกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของผนังอิฐบล็อก ระสานมวลเบาในโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก
Other Titles: Evaluation of Seismic Capacity on Interlocking Light Weight Masonry Wall in R/C Frame
Authors: อนุชาติ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ
วรวิทย์ โพธิ์จันทร์
Authors: อนุชาติ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ
วรวิทย์ โพธิ์จันทร์
Keywords: อิฐบล็อกประสาน;ผนงัอิฐก่อ;กำลังต้านทานแผ่นดินไหว;แรงกระทำแบบวัฏจักร
Issue Date: 2563
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 173-186
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมโครงข้อแข็งคอนกรีตสริมเหล็กที่มีผนังอิฐบอกประสานมวลเบาภายใต้แรงกระทำแบบวัฏจักร โดยอาคารต้นแบบได้ทำการเลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้นที่ไม่ได้มีการออกแบบให้รับแรงต้านทานแผ่นดินไหว สำหรับการประเมินกำลังภายใต้แรงกระทำแบบวัฏจักร 3 ตัวอย่าง คือ โครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่มีผนังอิฐก่อ (BF) โครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมหล็กที่มีผนังอิฐบล็อคประสานมวลเบาจากดินเบา (W1) และโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังอิฐบล็อคประสานมวลเบาจากเถ้าชานอ้อย (W2) การประเมินกำลังแบบวัฏจักรของผนังอิฐก่อภายในโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ลักษณะได้แก่ กำลังต้านทานแรงกดอัดในแนวทแยงกำลังต้านทานแรงเฉือนแบบเลื่อนไถล และกำลังต้านทานแรงกดอัดที่มุมผนัง จากการศึกษาพบว่าผนังก่อด้วยอิฐบล็อคประสานมวลเบาทำให้ความสามารถในการรับกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มมากขึ้นกว่าโครงคอนกรีตเสริมเหล็กเปล่าที่ไม่มีผนังก่อ การวิเคราะห์พฤติกรรมการรับแรงกระทำแบบวัฏจักรด้วยโปรแกรม RUAUMOKO พบว่าการประเมินกำลังแบบวัฏจักรของผนังอิฐก่อภายในโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ลักษณะเป็นการวิบัติจากกำลังต้นทานแรงกดอัดในแนวทแยง และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์จากการสร้างแบบจำลองตัวอย่างโครงคอนกรีตเสริมเหลีก W1 และ W2 ให้กำลังต้านทานแผ่นดินไหวที่ได้มีความใกล้เคียงกับการประเมินกำลังต้านทานแรงกดอัดในแนวทแขง The objective of this research was to investigate the behavior of interlocking lightweight infilled masonry wall in reinforced concrete frame under cyclic loading. In this study, a prototype frame was chosen from a three-story reinforced concrete building that was not designed for seismic load. The evaluation of three samples .ie., the reinforced concrete bare frame (BF), the frame with interlocking lightweight infilled masonry wall which block made from diatomite (W1) and the frame with interlocking lightweight infilled masonry wall which block made from bagasse ash (W2). The evaluation of masonry infilled frame under cyclic loading of three types are diagonal compression resistance, sliding shear resistance and upper corner compression resistance. It was found that, the masonry infilled by interlocking lightweight cement block exhibited the higher seismic capacity than the reinforced concrete bare frame. An analytical model was under cyclic loading by the use of program, RUAUMOKO. The result revealed that, the evaluation of masonry infilled frame under cyclic loading of three types was failure for diagonal compression resistance and comparison of the samples of reinforced concrete frame W1 and W2 enhaned the seismic capacity similar on the
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_1/14.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68607
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.