Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภัทรชยา สวัสดิ์วงษ์en_US
dc.contributor.authorศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 158-172en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230364/156794en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67499-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพใน 3 โรงพยาบาล ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยและแบบสอบถามปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความตรงของแบบสอบถามการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย = 0.93 ความเที่ยง = 0.98 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยมีความตรง = 0.92 ความเที่ยง .80 วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การนิเทศงาน การดูแลความปลอดภัยผู้ป่วย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติไคสแควร์ วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยและ การดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ ในจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับสูง รูปแบบการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าอายุ และตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ ในจังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .027 และ .002 ตามลำดับ) ส่วนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วย และการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย พบว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยมีอบรม ประชุมมีภาระงานด้านบริหารมากไม่ค่อยอยู่ประจำหอผู้ป่วย (ร้อยละ 52.87) เวลาและการประชุมแต่ละครั้งไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่มีการนัดและจัดสรรเวลาที่ชัดเจน การนิเทศงานของหัวหน้าไม่มีการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยควรมีการนิเทศสม่ำเสมอ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและพัฒนาการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงานen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการนิเทศงานen_US
dc.subjectหัวหน้าหอผู้ป่วยen_US
dc.subjectการดูแลen_US
dc.subjectความปลอดภัยผู้ป่วยen_US
dc.subjectโรงพยาบาลตติยภูมิen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ ในจังหวัดนนทบุรีen_US
dc.title.alternativeRelationship between Head Nurse’s Supervision Style and Registered Nurse’s Care for Patient Safety in Tertiary Hospitalsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.