Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนพรัตน์ ธาระณะen_US
dc.contributor.authorรัตนาภรณ์ ธนศิริจิรานนท์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 70-82en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229986/156536en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67491-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดบุตรคนแรก หน่วยสูติกรรม โรงพยาบาลลำพูน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-testผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, p < .001, และ p < .001 ตามลำดับ)2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการพยาบาลปกติมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะในตนเอง ดังนั้นควรนำโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะในตนเอง ไปใช้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดโดยเฉพาะมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับมารดากลุ่มนี้ ทารกได้รับนมแม่นานขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และการวิจัยต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะในตนเองen_US
dc.subjectความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en_US
dc.subjectความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en_US
dc.subjectมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกen_US
dc.titleผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกen_US
dc.title.alternativeEffects of Enhancing Self-Efficacy Programs on Perceived Self-Efficacy, Knowledge and Satisfaction in Breastfeeding Practice Among First-time Postpartum Mothersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.