Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67484
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.contributor.authorอนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์en_US
dc.contributor.authorวิไลพรรณ ใจวิไลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 37-48en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229950/156512en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67484-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractอาชีพเกษตรกรชาวนามีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงาน วิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและอัตราการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานของเกษตรกรชาวนา จำนวน 286 ราย ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ1.0 และความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (0.70-0.94) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยที่สำคัญ คือ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับเครื่องมือ อุปกรณ์ของมีคม (ร้อยละ 80.9) บริเวณที่ทงานมีน้ำขัง/ดินโคลน (ร้อยละ 62.6) ทั้งพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.1 ไม่สวมปลั๊กอุดหูขณะขับรถไถนาหรือรถนวดข้าว กลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 44.9 ไม่อ่านคำแนะนำการใช้เครื่องจักร/เครื่องมือก่อนใช้งาน การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบบาดเจ็บร้อยละ 19.2 สาเหตุการบาดเจ็บจากพื้นลื่น (ร้อยละ 47.6) หรือวัสดุ มีคม (ร้อยละ 30.9) ลักษณะการบาดเจ็บเป็นข้อต่อเคล็ดหรือบาดแผลตื้น (ร้อยละ 36.9) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ หลังและเท้า (ร้อยละ 23.8-28.6) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ทีมอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย ทั้งการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างถูกต้องควรมีการสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยที่เป็นเหตุการบาดเจ็บ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในกลุ่มเกษตรกรชาวนาen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยen_US
dc.subjectการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานen_US
dc.subjectเกษตรกรชาวนาen_US
dc.titleความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรชาวนา: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeOccupational Health Risk and Work Related Injuries among Rice Farmers: Case Study in Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.