Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปาณิศา พีรวณิชกุลen_US
dc.contributor.authorวิรัช พัฒนาภรณ์en_US
dc.contributor.authorชาย รังสิยากูลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 95-112en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_478.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67482-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขนาดของแรงที่มากที่สุดสำหรับการดันเข้าฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งโดยไม่เกินความดันหลอดเลือดฝอยในเอ็นยึดปริทันต์ (0.0047 เมกะพาสคัล) และเพื่อหารูปแบบของแรงที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบรูปแบบสองแบบสำหรับการดันเข้าฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง ระหว่างรูปแบบที่ใช้หลักยึด หมุดฝังในกระดูก 2 ตัว และ 3 ตัว วิเคราะห์โดยวิธีไฟไนต์-เอลิเมนต์ แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์สามมิติถูกสร้างด้วยโปรแกรมโซลิคเวิคส์ กำหนดให้แรงดันเข้ากระทำที่กึ่งกลางด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง และหาขนาดของแรงที่มากที่สุดจากการให้แรงในปริมาณต่าง ๆ กัน ในการหาแนวแรงที่เหมาะสมทั้งสองรูปแบบ ทำโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบการกระจายความเค้นในเอ็นยึดปริทันต์ รวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่เริ่มต้นของการดันเข้า ฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงปริมาณที่คำนวณได้กระทำต่อตัวฟันในตำแหน่งต่างกันจากการใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 2 ตัว และ 3 ตัว โดยใช้โปรแกรมอบาคัส รูปแบบที่ใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 2 ตัว หมุดที่วางทางด้านแก้มจะวางในตำแหน่งระหว่างรากของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งและสอง หมุดที่วางทางด้านเพดานจะวางในตำแหน่งระหว่างรากของฟันกรามน้อยแท้ซี่ที่สอง และฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ในขณะที่รูปแบบที่ใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 3 ตัว หมุด 2 ตัวที่วางด้านแก้ม จะวางในตำแหน่งระหว่างรากของฟันกรามน้อยแท้ซี่ที่สอง และฟันกรามซี่ที่หนึ่ง และระหว่างรากของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งและ สองตามลำดับ หมุดที่วางทางด้านเพดานจะวางในตำแหน่งรอยประสานกระดูกกลางเพดาน จากการศึกษาพบว่า ขนาดของแรงที่มากที่สุดสำหรับการดันเข้าฟันกราม แท้บนซี่ที่หนึ่ง มีค่าเท่ากับ 13 กรัม และพบว่ารูปแบบที่ใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 2 ตัว เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการดันเข้าฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง เนื่องจาก ทำให้เกิดการเคลื่อนมาทั้งส่วนรากฟันและตัวฟันพร้อม ๆ กันมากกว่ารูปแบบที่ใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 3 ตัวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดันเข้าฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งen_US
dc.subjectหมุดฝังใน กระดูกen_US
dc.subjectวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์en_US
dc.titleการประเมินขนาดของแรงและรูปแบบสำหรับการดันเข้าฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งด้วยหลักยึดหมุดฝังในกระดูกวิเคราะห์โดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์en_US
dc.title.alternativeEvaluation of the Magnitudes of Force and Patterns for the Intrusion of Maxillary First Molar Teeth with Mini-Screw Anchorage, Analyzed Using the Finite Element Methoden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.