Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดรุณี โอวิทยากุลen_US
dc.contributor.authorกาญจนา ปาลีen_US
dc.contributor.authorสาครรัตน์ คงขุนเทียนen_US
dc.contributor.authorเพ็ญพิชชา วนจันทรรักษ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 75-84en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_476.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67479-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ต่อการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด และสเตรปโตคอกคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย โดยเปรียบเทียบกับน้ำยา บ้วนปากคลอเฮกซิดีนร้อยละ 0.12 วิธีการศึกษา: นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (คลอเฮกซิดีน กลูโคเนต ร้อยละ 0.12) และกลุ่มทดลอง (น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์) ให้อาสาสมัครใช้น้ำยาบ้วนปาก 14 วัน และแปรงฟันตามถนัดไม่มีการสอนวิธีการดูแลอนามัยช่องปากเพิ่มเติม ตรวจในช่องปากและเก็บน้ำลาย ณ วันแรก และเมื่อใช้น้ำยาบ้วนปาก 14 วัน เพื่อตรวจหาจำนวนเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดและสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ในน้ำลายในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา: มีอาสาสมัคร 35 คน ใช้น้ำยาบ้วนปากครบตามระยะเวลา พบว่าคลอเฮกซิดีนลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดได้ร้อยละ 53 และ สเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ได้ร้อยละ 60 สูงกว่าน้ำมันมะพร้าว ซึ่งลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดได้ร้อยละ 45 และ สเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ได้ร้อยละ 39 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างน้ำยาบ้วนปากสองชนิด บทสรุป: การใช้น้ำมันมะพร้าวอมกลั้วปาก 2 สัปดาห์สามารถลดปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และเชื้อสเตรปโตคอกคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย ไม่แตกต่างจากน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนร้อยละ 0.12 ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในงานทันตกรรมป้องกันสำหรับใช้ดูแลอนามัยช่องปากได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคลอเฮกซิดีนen_US
dc.subjectน้ำมันมะพร้าวen_US
dc.subjectน้ำยาบ้วนปากen_US
dc.subjectออยล์พูลลิ่งen_US
dc.subjectเชื้อสเตรปโตคอคคัสen_US
dc.subjectมิวแทนส์en_US
dc.titleผลของน้ำมันมะพร้าวต่อปริมาณเแบคทีเรียทั้งหมดและเชื้อสเตรปโตคอกคัสมิวแทนส์ในน้ำลายen_US
dc.title.alternativeEffect of Coconut Oil on Salivary Total Bacterial and Streptococcus Mutans Countsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.