Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธารินทร์ เพียงสุขen_US
dc.contributor.authorธีระพงษ์ ม้ามณีen_US
dc.contributor.authorศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 81-90en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_497.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67462-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอกซ์ยูนิเซ็มและเซอร์โคเนีย หลังปรับสภาพพื้นผิวด้วยไพรเมอร์และสารยึดติดที่มีเท็นเอ็มดีพีเป็นส่วนประกอบ ชิ้นงานเซรามิกรูปร่างทรงกระบอกจำนวน 30 ชิ้น ถูกนำไปยึดในท่อโลหะและขัดเรียบ แบ่งชิ้นงานเป็น 6 กลุ่มโดยการสุ่ม และได้รับการปรับสภาพพื้นผิวด้วยไพรเมอร์และสารยึดติดที่แตกต่างกัน เรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอกซ์ยูนิเซ็มถูกยึดกับชิ้นงานโดยฉีดลงในท่อพอลิเอทิลีนรูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 มิลลิเมตร และสูง 0.5 มิลลิเมตร จํานวน 4 แท่งต่อ 1 ชิ้นงาน รวมมีแท่งเรซินซีเมนต์ 20 แท่งต่อ 1 กลุ่ม (n=20) แช่ชิ้นทดสอบในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาค และดูลักษณะการแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษาพบว่าค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของกลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารยึดติดชนิดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซล (24.90±2.50 MPa) สูงที่สุดที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) การปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารยึดติดชนิดเคลียร์ฟิลไตรเอสยูนิเวอร์แซลบอนด์ (22.34±2.00 MPa)และเคลียร์ฟิลเซรามิกไพรเมอร์พลัส (22.17±1.59 MPa)มีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคมากกว่าอัลลอยไพรเมอร์ (17.98±1.66 MPa) และซีสีดเอ็นโอเพคไพรเมอร์ (17.94±1.81 MPa) และทุกกลุ่มทดลองมีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิว (15.89±2.27) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคen_US
dc.subjectเซอร์โคเนียen_US
dc.subjectการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมen_US
dc.subjectไพรเมอร์และสารยึดติดen_US
dc.titleผลของไพรเมอร์และสารยึดติดที่มีเท็นเอ็มดีพีเป็นส่วนประกอบต่อความแข็งแรงยึดเฉือน ระดับจุลภาคของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์กับเซอร์โคเนียen_US
dc.title.alternativeEffect of 10-MDP-containing Primers and Adhesives on the Micro-shear Bond Strength Between Self-adhesive Resin Cement and Zirconiaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.