Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศศิกานต์ สิริยศธำรงen_US
dc.contributor.authorสิทธิกร คุณวโรตม์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 44-57en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_494.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67461-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาสีฟันและ/หรือนํ้ายาบ้วนปากผสมโปรอาร์จินและโนวามินต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดระบบเอตช์แอนด์รินส์หรือเซลฟ์เอตช์กับเนื้อฟัน วิธีการวิจัย: ใช้ฟันกรามแท้ 50 ซี่ ตัดใต้รอยต่อเนื้อฟันเคลือบฟัน 1 มม. ขนานด้านบดเคี้ยว สุ่มแบ่งฟันเป็น 5 กลุ่มใหญ่ (n=10) กลุ่มใหญ่แรกแปรงด้วยนํ้ากลั่น(กลุ่มควบคุมผลลบ) กลุ่มใหญ่ที่ 2-5 แช่ฟันในกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 6 นาน 1 นาที โดยกลุ่มใหญ่ที่ 2 แปรงด้วยนํ้ากลั่น (กลุ่มควบคุมผลบวก) กลุ่มใหญ่ที่ 3 และ 5แปรงด้วยยาสีฟันผสมโปรอาร์จินและโนวามินตามลำดับกลุ่มใหญ่ที่ 4 หลังแปรงด้วยยาสีฟันผสมโปรอาร์จินเช่นเดียวกับกลุ่มใหญ่ที่ 3 แล้วแช่ฟันในนํ้ายาบ้วนปากผสมโปรอาร์จินนาน 30 วินาที โดยการแปรงแต่ละครั้งใช้เวลา 1 นาที วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 14 วัน ภายหลังการเตรียมผิวฟัน เก็บฟันในนํ้าลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสแต่ละกลุ่มใหญ่ถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย เพื่ออุดด้วยเรซินคอมโพสิต ร่วมกับสารยึดติดออพติบอนด์เอฟแอลหรือ เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ ตามคำแนะนำของบริษัท เก็บฟันที่อุดแล้วในนํ้ากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตัดแต่งชิ้นงานเป็นรูปนาฬิกาทรายพื้นที่หน้าตัดส่วนคอด 1 ตารางมิลลิเมตร ทดสอบความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบสากลที่ความเร็วในการทดสอบ 1 มม./นาที นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวโดยใช้การเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดดันเนตที 3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคระหว่างการใช้สารยึดติดทั้งสองในการเตรียมผิวเนื้อฟันแต่ละชนิดด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) ผลการศึกษา: ความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดทั้งสองชนิดกับเนื้อฟันที่เตรียมผิวด้วยยาสีฟันและ/หรือนํ้ายาบ้วนปากผสมโปรอาร์จินและโนวามินมีค่าตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นกลุ่มที่ใช้สารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์กับเนื้อฟันที่เตรียมผิวด้วยยาสีฟันผสมโปรอาร์จินมีค่าความแข็งแรงยึดติดต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเนื้อฟันที่เตรียมผิวด้วยยาสีฟันผสมโปรอาร์จินและโนวามินเมื่อใช้สารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์มีค่าความแข็งแรงยึดติดสูงกว่าสารยึดติดออพติบอนด์เอฟแอลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา: การใช้ยาสีฟันและ/หรือนํ้ายาบ้วนปากผสมโปรอาร์จินและโนวามิน ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดกับเนื้อฟัน การใช้สารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์กับเนื้อฟัน ที่ผ่านการใช้ยาสีฟันผสมโปรอาร์จินและโนวามินให้ค่าการยึดติดสูงกว่าสารยึดติดออพติบอนด์เอฟ-แอล อาจเนื่องมาจากผลึกแร่ธาตุที่เกิดขึ้นในท่อเนื้อฟันมีความต้านทานต่อกรดฟอสฟอริก จึงขัดขวางการยึดติดกับเนื้อฟันอีกทั้งสารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ยังมีฟังก์ชันนอลมอนอเมอร์ที่ช่วยเพิ่มการยึดติดโดยเกิดพันธะเคมีกับผลึกในท่อเนื้อฟันได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรอาร์จินen_US
dc.subjectโนวามินen_US
dc.subjectยาสีฟันen_US
dc.subjectนํ้ายาบ้วนปากen_US
dc.subjectความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคen_US
dc.titleผลของยาสีฟันและนํ้ายาบ้วนปากลดอาการเสียวฟันผสมโปรอาร์จินและโนวามิน ต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดกับเนื้อฟันen_US
dc.title.alternativeEffect of Desensitizing Toothpaste and Mouthwash Containing Pro-Argin and Novamin on the Microtensile Bond Strength of Dental Adhesives to Dentinen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.