Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิทธิกร คุณวโรตม์en_US
dc.contributor.authorชุติกุล เขื่อนแก้วen_US
dc.contributor.authorพิริยะ เชิดสถิระกุลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 13-28en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_492.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67456-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractด้วยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่หลากหลายในปัจจุบันอุบัติการณ์ของอาการเจ็บป่วยซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมจึงพบได้มากขึ้นเช่นกัน การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มอัดแก๊ส ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด ภาวะกรดไหลย้อนซึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและภาวะทางจิตวิทยา การสัมผัสกับไอระเหยของกรดที่ปนเปื้อนในอากาศ ตลอดจนน้ำในสระว่ายน้ำที่อาจมีความเป็นกรดเนื่องจากการปรับสภาพน้ำเพื่อสุขอนามัยล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดการสึกกร่อนของฟัน ภาวะฟันกร่อน มีสาเหตุมาจากปฏิกิริยาทางเคมีเมื่อผิวฟันสัมผัสกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะเกิดการละลายตัว ขององค์ประกอบที่เป็นแร่ธาตุในผิวฟันนั้น ทำให้เนื้อเยื่อแข็งของฟันมีความแข็งผิวลดลง ส่งผลให้มีความทนทานต่อการขัดถู เสียดสีและการรับแรงในการบดเคี้ยวลดลงด้วย นำไปสู่การสูญเสียโครงสร้างของฟัน เหตุฟันกร่อนทั้งจากภายในและภายนอกร่างกายที่กล่าวมาข้างต้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับตำแหน่งและลักษณะทางคลินิกของรอยโรคฟันกร่อน เมื่อมีภาวะฟันกร่อนผลกระทบเบื้องต้นต่อผู้ป่วยมักเกิดจากอาการเสียวฟัน การสูญเสียความสวยงามเมื่อมีการสูญเสียโครงสร้างของฟันไปมากขึ้นตลอดจนผลกระทบต่อการใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารเมื่อภาวะฟันกร่อนลุกลามจนเกิดการสูญเสียมิติในแนวดิ่งหรือส่งผลกระทบต่อความมีชีวิตของฟันบทความนี้นำเสนอหลักการในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคฟันกร่อน ตลอดจนแนวทางการรักษาสำหรับฟันกร่อนในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และได้นำเสนอรายงานผู้ป่วยที่มีฟันกร่อนอย่างรุนแรงเนื่องจากการสัมผัสกับน้ำในสระว่ายน้ำซึ่งมีภาวะเป็นกรดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเสียวฟัน สูญเสียโครงสร้างของฟันและเกิดปัญหาความสวยงาม โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมบูรณะด้วย เรซินคอมโพสิตวีเนียร์โดยอ้อม โดยแยกชิ้นด้านริมฝีปากและด้านเพดาน ซึ่งเป็นวิธีที่เรียบง่าย ประหยัด ทั้งยังสามารถอนุรักษ์โครงสร้างของฟันที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยไว้ได้ดีอีกด้วยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเรซินคอมโพสิตวีเนียร์โดยอ้อมแยกชิ้นด้านริมฝีปากและด้านเพดานen_US
dc.subjectฟันกร่อนen_US
dc.subjectนักกีฬาว่ายน้ำen_US
dc.titleฟันกร่อน การบูรณะโดยอ้อมด้วยเรซินคอมโพสิตวีเนียร์แยกชิ้นด้านริมฝีปากและด้านเพดาน: ทบทวนวรรณกรรม และรายงานผู้ป่วยen_US
dc.title.alternativeDental Erosion, Splitting Labial and Palatal Indirect Resin Composite Veneers: Review Literature and A Case Reporten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.