Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67451
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรัญ วานิชกร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจิตรศิลป์ 10,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562) 32-58 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/122206/153320 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67451 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ได้เผยแพร่บทความทางด้านศิลปกรรม ในระบบวารสารวิจิตรศิลป์ออนไลน์ (ThaiJO) มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของภูมิปัญญาด้านสุขภาพของไทย จากนั้นนำความบันดาลใจมาออกแบบและสร้างสรรค์หุ่นจำลองต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วยวิถีไทย วิธีการวิจัยและสร้างสรรค์เริ่มจากการศึกษาประติมากรรมสาธารณะในประเทศต่างๆ และนำแรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ของการดูแลสุขภาพวิถีไทยมาวิเคราะห์ในการออกแบบประติมากรรม ออกแบบร่างแนวความคิด พัฒนาแบบจนสมบูรณ์ สร้างหุ่นจำลองชิ้นงานประติมากรรม นำแบบจำลองไปประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง และนำข้อสรุปจากการประชุมมาปรับปรุงชิ้นงานรูปแบบสร้างสรรค์ จากนั้นจัดทำต้นแบบจำลอง และนำเสนอองค์ความรู้วิชาการงานสร้างสรรค์ พร้อมหุ่นจำลองประติมากรรมในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ได้แนวคิดประติมากรรมเพื่อสื่อความหมาย เรื่องราว การสร้างภาพสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนการนวดไทยและการหัตถการในลักษณะต่างๆ โดยการคัดเลือกมาสร้างสรรค์จากความงามของท่วงท่า จากนั้นต่อยอดประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่สาธารณะ ลดทอนอัตลักษณ์ของการนวดไทยไปสู่นามธรรม และออกแบบประติมากรรมให้สามารถตกแต่งบริเวณและอาคารสถานที่ จากนั้นทดลองออกแบบตกแต่งบริเวณสวนสมุนไพรไทย โดยคำนึงถึงสัปปายะ ความสบาย และสมมติฐานธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชุดประติมากรรมสามารถสื่อสารความหมาย เรื่องราว และคุณค่าเอกลักษณ์ของการหัตถการและนวดไทย ในรูปแบบของประติมากรรมร่วมกับประโยชน์ใช้สอยด้วยท่านวดล้อมหม้อยาที่มีน้ำพุอยู่ตรงกลาง มี Lighting ส่องเพื่อความสวยงาม ประติมากรรมเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนในสวน ประติมากรรมท่านวดกระดานลื่นในลานโล่งที่มีสนามเด็กเล่น และยังสามารถใช้ประดับตกแต่งอาคารได้อย่างเหมาะสมสวยงาม | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | ประติมากรรมตกแต่งเมือง | en_US |
dc.subject | ร่วมสมัย | en_US |
dc.subject | สุขภาพวิถีไทย | en_US |
dc.title | การสร้างสรรค์ประติมากรรมตกแต่งเมืองร่วมสมัย สุขภาพวิถีไทย | en_US |
dc.title.alternative | The Contemporary Urban Sculpture of Thai Traditional Health | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.