Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67437
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริวรรณ มีมะจำen_US
dc.contributor.authorมยุลี สำราญญาติen_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดชen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) 26-36en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136146/101610en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67437-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเสียชีวิต การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัตินอกจากจะเป็นวิธีการรักษาเพื่อช่วยชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย จิตใจและสังคม การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการทำหน้าที่ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ณ หน่วยตรวจพิเศษโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบภายนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 125 ราย ได้รับแบบสอบถามคืน 95 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินสภาพการทำหน้าที่ 3) แบบประเมินความวิตกกังวลแบ่งเป็นความวิตกกังวลขณะเผชิญ และความวิตกกังวลแบบแฝง 4) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ พิสัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานระดับดีร้อยละ 71.60 มีความพร่องในการทำหน้าที่ร้อยละ 28.40 การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปานกลางระดับดีร้อยละ 45.30 มีความพร่องในการทำหน้าที่ร้อยละ 54.70 ด้านอารมณ์ มีสุขภาพจิตระดับดีร้อยละ 50.50 มีความพร่อง ในการทำหน้าที่ร้อยละ 49.50 ด้านสังคม มีการทำงานระดับดีร้อยละ 26.30 มีความพร่องในการทำหน้าที่ร้อยละ 73.70 มีกิจกรรมทางสังคมระดับดีร้อยละ 55.80 มีความพร่องในการทำหน้าที่ร้อยละ 44.20 มีคุณภาพในการเข้าสังคมระดับดีร้อยละ 69.50 และมีความพร่องในการทำหน้าที่ร้อยละ 30.50 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลแบบแฝงและความวิตกกังวลขณะเผชิญ ร้อยละ 90.50 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 76.80 ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 11.60 มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ร้อยละ 8.40 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง และร้อยละ 3.20 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงผลการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อมูลปัญหาด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปานกลาง สุขภาพจิต สังคมและความวิตกกังวลที่ควรนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสภาพการทำหน้าที่en_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectภาวะซึมเศร้าen_US
dc.subjectเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติen_US
dc.titleสภาพการทำหน้าที่ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติen_US
dc.title.alternativeFunctional Status, Anxiety and Depression Among Persons with Automatic Implantable Cardioverter Defibrilltoren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.