Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67436
Title: | ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | HEALTH STATUS OF OLDER PERSONS LIVING IN YAPLONG, DISTRICT, SRISAKET PROVINCE. |
Authors: | พุทธิพร พิธานธนานุกูล |
Authors: | พุทธิพร พิธานธนานุกูล |
Keywords: | ผู้สูงอายุ;ภาวะสุขภาพ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 45,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) 12-25 |
Abstract: | ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและปัญหาด้านจิตสังคม ดังนั้นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพกาย ความสามารถเชิงปฏิบัติ สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนเพื่อดูแลผู้สูงอายุได้ การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่พัฒนาโดยผ่องพรรณ อรุณแสงและคณะ (2552) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ และร้อยละผลการศึกษาพบว่าภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในด้าน 1) สุขภาพกาย พบว่าส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีฟันที่ใช้งานได้มากกว่า 20 ซี่ ผู้สูงอายุมีการรับรู้ภาวะสุขภาพในระดับดี รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพเท่ากันกับบุคคลวัยเดียวกัน ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว โดยโรคประจำตัว 3 อันดับแรกที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.6 โรคเบาหวาน ร้อยละ 14.9 และโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 12.6 ปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุพบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาการนอนหลับ การมองเห็น การเคลื่อนไหว และปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพาน้อย รวมทั้งด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุไม่มีภาวะพึ่งพา 2) สุขภาพจิต พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า 3) สุขภาพทางสังคม พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับบุตรสาว มีผู้ดูแลหลักคือบุตร แหล่งช่วยเหลือทางด้านการเงินส่วนใหญ่ผู้สูงอายุได้รับเงินจากบุตร สามารถจัดการกับค่ารักษาพยาบาลได้เมื่อเจ็บป่วย และไม่มีความกังวลเรื่องเงิน แหล่งสนับสนุนด้านจิตสังคม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีบุคคลที่ไว้วางใจ และมีบุคคลที่สามารถพูดคุยด้วยเมื่อกังวลใจผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ และการจัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในมิติต่างๆ |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136130/101601 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67436 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.