Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67424
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิตารีย์ ดิษาภิรมย์en_US
dc.contributor.authorจันทรรัตน์ เจริญสันติen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 157-168en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218554/151375en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67424-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความสำคัญต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยปัจจัยที่ศึกษาได้มาจากแนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ (Pender, 2011) และจากการทบทวนวรรณกรรม คือ ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มารับบริการแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นของ Supawadee Ngernying (2013 ) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ของ Lonuch, Khampalikit, & Nirattharador (2011) และแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ของของ Lonuch,Khampalikit, & Nirattharador (2011) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า1. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ในระดับดี ( x_= 69.40,SD = 7.24)2. การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = .282, p < .01) 3. การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = -.273, p < .05)4. ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= .406, p >.05)ผลของการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสม และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาปัจจัยเชิงทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการen_US
dc.subjectการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการen_US
dc.subjectการรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการen_US
dc.subjectดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์en_US
dc.subjectสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Health Promotion Behaviors Regarding Nutrition Among Adolescent Pregnant Womenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.