Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67423
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พินทร์พจน์ พรหมเสน | en_US |
dc.contributor.author | จันทรรัตน์ เจริญสันติ | en_US |
dc.contributor.author | พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 169-180 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218556/151382 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67423 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | ความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งอดทน การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิด A1 อย่างน้อย 1 เดือน ที่มารับบริการในหน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 102 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเข้มแข็งอดทนในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้วิจัยได้ดัดแปลงจากแบบประเมินความเข้มแข็งอดทนของ Tiansawad, Nakamadee, Chuekao, & Yimyam (2007) จากกรอบแนวคิดของ (Craft, 1999) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสร้างขึ้นโดย (PanneeChunpradub, 1995) จากกรอบแนวคิดของ (House, 1981) และแบบวัดความเครียดของสวนปรุงชุด 60 ข้อ เฉพาะส่วนที่ 3 ของ Mahatnirunkul, Pumpaisalchai & Tapanya (1997) จากกรอบแนวคิดของ Miller,Smith, & Rothstein (1993) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งอดทนอยู่ในระดับสูง ( x_ = 116.76, S.D. = 8.47) 2. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ( x_ = 96.75, S.D. = 14.28) 3. ความเครียดอยู่ในระดับสูง (S.D. = 14.55) 4. ความเข้มแข็งอดทนมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = -.205, p<.05) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.350, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยคำนึงถึงความเข้มแข็งอดทน และการสนับสนุนทางสังคม | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความเข้มแข็งอดทน | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en_US |
dc.subject | ความเครียด | en_US |
dc.subject | สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | en_US |
dc.title | ความเข้มแข็งอดทน การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | en_US |
dc.title.alternative | Hardiness, Social Support, and Stress Among Gestational Diabetic Women | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.