Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิตราภรณ์ ศิลาชาลen_US
dc.contributor.authorทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorนิตยา ภิญโญคำen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 82-93en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218531/151357en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67421-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่มารับการรักษาที่แผนกหอผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 โดยมีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 54 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผู้วิจัย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ที่มีกลุ่มอาการ เมแทบอลิก แผนการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก และคู่มือปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test)ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่ได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนดีกว่าของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) น้ำหนักตัวของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่ได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนลดลงมากกว่าของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) ดัชนีมวลกายของผู้ที่มีกลุ่มอาการ เมแทบอลิกที่ได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนลดลงมากกว่าของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) เส้นรอบเอวของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่ได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนลดลงมากกว่าของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสร้างเสริมให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกมีสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ จึงเสนอแนะให้การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนเป็นอีกวิธีหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการดูแลประชากรในกลุ่มนี้ต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectน้ำหนักตัวen_US
dc.subjectเส้นรอบเอวen_US
dc.subjectผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกen_US
dc.titleผลของการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ น�้าหนักตัว ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของผู้ที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิกen_US
dc.title.alternativeEffects of Self-efficacy Enhancement on Health Behaviors, Body Weight, Body Mass Index and Waist Circumference Among Persons with Metabolic Syndromeen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.