Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรรธางค์ ปัญญางามen_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.contributor.authorสุภารัตน์ วังศรีคูณen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 58-70en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218503/151341en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67418-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractความปวดส่งผลกระทบต่อบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมทั้งพฤติกรรม และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้บริการมารับบริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน ดังนั้นการจัดการความปวดในหน่วยตรวจฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพจึงถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของพยาบาล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (developmental research) โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE - PROCEED model ที่พัฒนาโดยGreen & Kreuter, (2005) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพพยาบาลที่หน่วยตรวจฉุกเฉินในการจัดการความปวด ผลลัพธ์การวิจัย ได้แก่ จำนวนของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินที่มีความปวดบรรเทาลงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป และจำนวนของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินที่มีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดตั้งแต่ระดับพึงพอใจขึ้นไปกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยตรวจฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 33 คน และผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 600 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน กลุ่มละ 300 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการก่อนการใช้โปรแกรม และกลุ่มผู้ใช้บริการหลังการใช้โปรแกรม ระยะเวลาการศึกษา ระหว่างเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2556เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ แบบสอบถามความปวดที่บรรเทาลง และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินต่อการจัดการความปวดวิเคราะห์จำนวนของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินที่มีความปวดบรรเทาลงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป และมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดตั้งแต่ระดับพึงพอใจขึ้นไป เปรียบเทียบข้อมูลผลลัพธ์ระหว่างก่อนและหลังใช้โปรแกรม โดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษาพบว่า1. โปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพพยาบาลที่หน่วยตรวจฉุกเฉินในการจัดการความปวด ประกอบด้วย 1)การจัดการปัจจัยชักนำ ได้แก่ การจัดการความรู้และทัศนคติ และการจัดการทักษะปฏิบัติของพยาบาล2) การจัดการปัจจัยเสริมแรง ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ ให้รางวัล การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการเฝ้าติดตามการจัดการความปวด และ 3) การจัดการปัจจัยเอื้ออำนวย ได้แก่ การจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่างๆ ในการจัดการความปวดในหน่วยตรวจฉุกเฉิน 2. จำนวนของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินที่มีความปวดบรรเทาลงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป หลังการใช้โปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)3. จำนวนของผู้ใช้บริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉินที่มีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดตั้งแต่ระดับพึงพอใจขึ้นไป หลังการใช้โปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพพยาบาลที่หน่วยตรวจฉุกเฉินในการจัดการความปวด ที่พัฒนาตามกรอบแนวคิดพรีซีด โพรซีด ทำให้การจัดการความปวดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ที่หน่วยตรวจฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพพยาบาลที่หน่วยตรวจฉุกเฉินในการจัดการความปวดen_US
dc.subjectการจัดการความปวดen_US
dc.subjectความปวดที่บรรเทาลงen_US
dc.subjectความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดen_US
dc.titleการพัฒนาและทดสอบโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพพยาบาลที่หน่วยตรวจฉุกเฉินในการจัดการความปวดen_US
dc.title.alternativeDevelopment and Testing of the Emergency Department Nurses’ Capacity Enhancing Program on Pain Managementen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.