Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนิสา กฤษฎาธารen_US
dc.contributor.authorจีรติการณ์ พิทาคําen_US
dc.contributor.authorวีรวิทย์ ปิยะมงคลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:06Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:06Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่เวชสาร 58,4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562), 233-243en_US
dc.identifier.issn0125-5983en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/227788/155103en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67399-
dc.descriptionเชียงใหม่เวชสาร เป็นวารสารของคณะแพทยศาสตร์ มช. ตีพิมพ์เพผยแพร่บทความวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาพ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ในวงกว้าง เป็นวารสารที่มี peer review ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะสําหรับป้องกันการติดเชื้อในหญิงคลอดปกติครบกําหนดทางช่องคลอด พร้อมวิเคราะห์ถึงชนิด ลักษณะ และสาเหตุการใช้ยาปฏิชีวนะสําาหรับป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงค้นหาร้อยละการติดเชื้อหลังคลอด (wound infection หรือ puerperal sepsis) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะวิธีการ การศึกษารูปแบบ retrospective cohort study ทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังหญิงคลอดปกติครบกําหนดทางช่องคลอด ที่เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยทบทวนข้อมูล ระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ การได้รับหรือไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ ชนิด ลักษณะและสาเหตุการใช้ปฏิชีวนะ รวมถึงผลลัพธ์การติดเชื้อของผู้ป่วย ณ วันที่นัดตรวจติดตามแผลหลังคลอดผลการศึกษา หญิงคลอดปกติครบกําาหนดทางช่องคลอดในช่วงที่ทําาวิจัยมีทั้งหมด 502 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะทั้งหมด 114 ราย (ร้อยละ 22.71) คิดเป็นร้อยละของการใช้สําาหรับป้องกันการติดเชื้อหลังคลอดเท่ากับ 9.36 ซึ่งจัดเป็นการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม ร้อยละ 72.34 สาเหตุส่วนใหญ่ของการสั่งใช้ยาสําาหรับป้องกันการติดเชื้อที่ไม่เหมาะสม คือ Feces contamination 24 ราย (ร้อยละ 51.06) นอกจากนี้พบหญิงคลอด 1 ราย ที่มีระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ 3-4 ซึ่งควรได้รับยาปฏิชีวนะสําาหรับป้องกันการติดเชื้อหลังคลอดแต่ไม่ได้รับ ในด้านชนิดและลักษณะของการใช้ยาปฏิชีวนะยังขาดความเหมาะสม เนื่องจากพบการสั่งใช้รูปแบบรับประทานทั้งหมด นอกจากนี้ผลการตรวจติดตามภายใน 42 วันหลังคลอด พบการติดเชื้อไม่แตกต่างกัน (p=1.000) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะหลังคลอดสรุป ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติครบกําาหนดทางช่องคลอดสูงกว่าเกณฑ์ rational drug use hospital ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า ชนิด ลักษณะ และสาเหตุการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะสําาหรับป้องกันการติดเชื้อยังไม่เหมาะสม ส่วนผลการติดเชื้อหลังคลอดระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะหลังคลอด พบว่าไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อen_US
dc.subjectหญิงคลอดปกติครบกําาหนดทางช่องคลอดen_US
dc.subjectRDU hospitalen_US
dc.titleการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหญิงคลอดปกติครบกําาหนดทางช่องคลอด ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAntibiotic prophylaxis in vaginal delivery of normal term labour at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Chiang Maien_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.