Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67394
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสายชล สุขญาณกิจen_US
dc.contributor.authorภาณุพงศ์ ฤกษ์ยานีย์en_US
dc.contributor.authorชลรดา ซาวคำเขตร์en_US
dc.contributor.authorธนภัทร ปลื้มพวกen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 135-144en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234796/161480en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67394-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractทำการศึกษาผลของการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมทางใบต่อ ผลผลิต และการดูดใช้โพแทสเซียมในถั่วฝักยาวไร้ค้างที่ปลูกในชุดดินเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 7 ตำรับทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ตำรับทดลองที่ 1 ไม่ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมทางใบ (ตำรับควบคุม) ตำรับทดลองที่ 2-4 ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) เป็นปุ๋ ยทางใบในอัตราความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ตำรับทดลองที่ 5-7 ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เป็นปุ๋ ยทางใบในอัตราความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาพบว่าชนิดของปุ๋ยโพแทสเซียมและอัตราความเข้มข้นที่ใช้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P≤0.01) ในส่วนของผลผลิตน้ำหนักฝักสดและชีวมวลส่วนเหนือดิน ขณะที่ผลผลิตน้ำหนักแห้งฝักพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรททางใบอัตราความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ำหนักฝักสด น้ำหนักฝักแห้ง และชีวมวลส่วนเหนือดินสูงที่สุดเท่ากับ 297.1, 28.2 และ 78.8 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ด้านความเข้มข้นและการดูดใช้โพแทสเซียมพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P≤0.01) การให้โพแทสเซียมคลอไรด์เป็นปุ๋ยทางใบอัตราความเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าความเข้มข้นโพแทสเซียมในฝักสูงที่สุด (25.6 กรัมต่อกิโลกรัม) ส่วนการดูดใช้โพแทสเซียมในฝักนั้น การให้การให้โพแทสเซียมไนเตรทเป็นปุ๋ยทางใบอัตราความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าการดูดใช้โพแทสเซียมในฝักสูงที่สุด (0.68 กรัมต่อต้น) นอกจากนี้การให้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นปุ๋ ยทางใบยังให้ค่าความสัมพันธ์เชิงเส้น (r) ระหว่างการดูดใช้โพแทสเซียมและผลผลิตฝักแห้งถั่วฝักยาวไร้ค้างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P≤0.01) เท่ากับ 0.82**en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโพแทสเซียมคลอไรด์en_US
dc.subjectโพแทสเซียมไนเตรทen_US
dc.subjectผลผลิตen_US
dc.subjectถั่วฝักยาวไร้ค้างวารสารเกษตรen_US
dc.titleผลของการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมทางใบต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารในถั่วฝักยาวไร้ค้างen_US
dc.title.alternativeEffects of Foliar Potassium Application Fertilizer on Growth, Yield and Nutrient Uptake in Draw Yard Long Beanen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.