Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67391
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทิมทอง ดรุณสนธยาen_US
dc.contributor.authorพัสกร ทะสานนท์en_US
dc.contributor.authorวิทยา จินดาหลวงen_US
dc.contributor.authorกรุณา พุ่มทรงen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 123-133en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234795/161479en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67391-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractทำการศึกษาลักษณะการปลดปล่อยโพแทสเซียมของดินที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลางที่มีพัฒนาการแตกต่างกัน จำนวน 10 บริเวณ ได้แก่ ชุดดินสรรพยา (Sa1, Sa2) ชุดดินราชบุรี (Rb) ชุดดินบางเลน (Bl1, Bl2,) ชุดดินบางแพ (Bph1, Bph2) ชุดดินนครปฐม (Np1, Np2) และชุดดินปากท่อ (Pth)ศึกษาการปลดปล่อยโพแทสเซียมจากดินโดยการสกัดดินด้วยน้ำยาสกัด Mehlich 1 และวัดปริมาณโพแทสเซียมในสารละลายที่ระยะเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 ถึง 168 ชั่วโมง จากนั้นนำข้อมูลปริมาณโพแทสเซียมสะสมมาอธิบายจลนศาสตร์การปลดปล่อยด้วยสมการการปลดปล่อยแบบต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงระยะเวลา 168 ชั่วโมง ชุดดิน Np1 มีการปลดปล่อยโพแทสเซียมสูงที่สุด (861มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และชุดดิน Pth มีการปลดปล่อยโพแทสเซียมน้อยที่สุด (240 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) โดยลักษณะการปลดปล่อยโพแทสเซียมในชุดดิน Bl1, Bl2, Bph1, Bph2, Np1 และ Pth สามารถอธิบายได้ดีโดยสมการ parabolic diffusion และ power function แสดงให้เห็นว่าดินกลุ่มนี้มีการปลดปล่อยโพแทสเซียมโดยกระบวนการการแพร่และมีอัตราเร็วในการปลดปล่อยลดลงตามเวลาที่เพิ่มขึ้น ส่วนลักษณะการปลดปล่อยโพแทสเซียมของชุดดิน Sa1, Sa2, Rb และ Np2 สามารถอธิบายได้ดีด้วยสมการ zero order ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ดินกลุ่มนี้มีการปลดปล่อยโพแทสเซียมด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกันอย่างมาก 2 ช่วง โดยการปลดปล่อยโพแทสเซียมในช่วงแรกซึ่งเกิดอย่างช้า ๆ เกิดจากการปลดปล่อยโพแทสเซียมออกมาจากพื้นที่ผิวดูดซับภายนอก (external sites) และการปลดปล่อยช่วงที่สองซึ่งมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้น เกิดจากการปลดปล่อยโพแทสเซียมออกมาจากพื้นที่ผิวดูดซับภายใน (interlayer sites)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโพแทสเซียมรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้en_US
dc.subjectความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมen_US
dc.subjectดินนาen_US
dc.subjectแร่อิลไลต์en_US
dc.titleจลนศาสตร์การปลดปล่อยโพแทสเซียมของดินที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeKinetics of Potassium Release of Lowland Soils in Central Plain of Thailanden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.