Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67387
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณิชาภัทร สิทธิวรนนท์en_US
dc.contributor.authorชูชาติ สันธทรัพย์en_US
dc.contributor.authorฟ้าไพลิน ไชยวรรณen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 69-78en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234706/161397en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67387-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการใช้ถ่านชีวภาพต่อสมบัติของดินและการกักเก็บคาร์บอนในดินจาก อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง และวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของการใช้ถ่านชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน โดยนำถ่านชีวภาพขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาด (2-5,1-2และน้อยกว่า1 มิลลิเมตร) ไปผสมกับดินในอัตราที่แตกต่างกัน (0.1, 1.0และ 3.0เปอร์เซ็นต์(w/w)) นำไปปรับความชื้นของดินที่ความจุความชื้นสูงสุดของดิน แล้วปล่อยให้แห้งในสภาพอุณหภูมิห้อง แล้วนำไปวิเคราะห์สมบัติของดิน สำหรับการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการใช้ถ่านชีวภาพต่อการกักเก็บคาร์บอนในดิน โดยการผสมถ่านชีวภาพลงไปในดินอัตราที่แตกต่างกัน (0.1, 1.0 และ 3.0เปอร์เซ็นต์ (w/w))เปรียบเทียบกับดินที่เติมตอซังข้าวโพด อัตรา 2ตัน/ไร่ และกรรมวิธีควบคุม ทำการปรับความชื้นของดินให้อยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของความจุความชื้นสูงสุด นำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง หลังการบ่มดิน 1เดือน ทำการวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนที่เหลือในดินผลการศึกษาพบว่า การใช้ถ่านชีวภาพในอัตราตั้งแต่ 1 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลง ในขณะที่ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ความเป็นกรดด่างของดินการนำไฟฟ้า อินทรียวัตถุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนอกจากนั้นพบว่าดินที่เติมถ่านชีวภาพ มีการสูญเสียคาร์บอนอยู่ในช่วง 0.16-0.26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ดินที่เติมตอซังข้าวโพดในอัตรา 2 ตัน/ไร่ มีการสูญเสียคาร์บอนสูงถึง 0.44 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การนำถ่านชีวภาพมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดิน และยังสามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินได้มากว่าการไถกลบตอซัง ซึ่งสามารถเก็บกักคาร์บอนในดินได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectถ่านชีวภาพen_US
dc.subjectสมบัติดินen_US
dc.subjectการกักเก็บคาร์บอนen_US
dc.titleผลของการใช้ถ่านชีวภาพต่อสมบัติและการกักเก็บคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูงอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeEffects of Biochar Amendment on Soil Properties and Carbon Sequestration in Highland Areas of Pang Mapha District, Mae Hong Son Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.