Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67377
Title: | ฮิวริสติกสำหรับการจัดลำดับการผลิตยาเม็ดเคลือบฟิล์ม |
Other Titles: | Heuristic Based Scheduling for Tablets Film Coating Process |
Authors: | จุฑามาศ ผลตระกูล พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ |
Authors: | จุฑามาศ ผลตระกูล พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ |
Keywords: | การจัดตารางการทำงาน;ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถที่มีกรอบของเวลา;ฮิวริสติก |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 184-196 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาลำดับการผลิตยาเม็ดเคลือบฟิล์มที่สามารถลดเวลาปิดงานของระบบ (Makespan) และจำนวนงานล่าช้า (Number of Tardy jobs) ลงให้มีค่าน้อยที่สุด ภายใต้กรอบเวลากำหนดส่งมอบ (Time Window) ทั้งนี้ปัญหาการจัดตารางการผลิตยาเม็ดเคลือบฟิล์มจัดเป็นปัญหาการวางแผนการผลิตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการล้าง และปรับตั้งเครื่องจักรทุกครั้งที่มีการเปลี่ขนรายการยา หากแต่เวลาที่ใช้ในการล้าง และปรับตั้งเครื่องจักรของแต่ละรายการยากลับขึ้นอยู่กับลำดับและรายการยาก่อนหน้า ส่งผลทำให้อาจเกิดงานล่าช้าจากการวางแผนที่ขาดประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยแปลงปัญหาการจัดตารางการผลิตยาเม็ดเคลือบฟิล์มไปเป็นปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถที่มีกรอบของเวลา (Vehicle Routing Problem with Time Windows, VRPTW) แล้วจึงทำการหาคำตอบของปัญหาดังกล่าวด้วยฮิวริสติกแบบสองขั้น (2-Phase Heuristic) ตามหลักการค้นหาคำตอบในย่านใกล้เคียงแบบแปรผัน (Variable Neighborhood Search, VNS) โดยคำตอบเริ่มต้นของฮิวริสติกดังกล่าจะถูกสร้งขึ้นจากกฎการจ่ายงานพื้นฐานอย่างง่าย (EDD และ LPT) แล้วถึงดำเนินการปรับปรุงคำตอบดังกล่าวด้วย 20PT, RELOCATION และ SWAP ตามลำดับ เพื่อทดสอบความสามารถของฮิวริสติกที่ถูกพัฒนาขึ้น คำตอบที่ได้จากฮิวริสดิกจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับคำตอบที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) โดยผู้วิจัยพบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากฮิวริสติกมีคุณภาพใกล้เคียงกับคำตอบที่ดีที่สุด (Optimal Solution) โดยมีความแตกต่างจากคำตอบที่ดีที่สุดโดยเฉลี่ยไม่เกิน 2% สำหรับปัญหาที่มีขนาด 10 ถึง 30 รายการยา อย่างไรก็ตาม เมื่อปัญหามีขนาดใหญ่ขึ้น (มากกว่า 40 รายการยา) แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความจำในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หากแต่ฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้นยังสามารถหาคำตอบได้ในกรอบเวลาอันสั้น |
Description: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
URI: | http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_3/15.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67377 |
ISSN: | 0857-2178 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.