Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอภิญญา อ่อนสารen_US
dc.contributor.authorกรรณิกา รัตนพงศ์เลขาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 14-24en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_3/02.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67361-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้เอนไซม์แลคเคสสำหรับกำจัดยาฆ่าแมลงชนิดไดโคฟอล โดยใช้เอนไซม์แลคเคสจาก Lentinus polychrous Lev. จากการศึกษาพบว่าเอนไซม์แลคเคสมีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น 3.52 เท่า เมื่อผ่านกระบวนการกรองด้วยเยื่อกรองไมโครและอัลตร้า และผลจากการนำเอนไซม์แลคเคสมากำจัดไดโคฟอลพบว่าที่เวลา 12 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการกำจัดไดโคฟอลสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 7 ค่าอุณหภูมิเท่ากับ 35 องศาเซลเซียส เมื่อควบคุมปริมาณเอนไซม์เท่ากับ 4.32 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และความเข้มข้นไดโดฟอลเท่ากับ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับการศึกษาจลนพลศาสตร์ของแลคเคสกับการกำจัดไดโคฟอลพบว่ามีค่า Km เท่ากับ 2.52 มิลลิกรัมต่อลิตร เละ Vmax เท่ากับ 0.93 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อนาที และเมื่อนำอุณหภูมิในช่วง 25-35 องศาเซลเซียส มาใช้ในการหาค่าพลังงานกระตุ้นมีค่าเท่ากับ 5.45 กิโลจูลต่อโมล และเมื่อนำไปทดสอบโดยอิงจากสภาพแวดล้อมจริงในกรณีที่มีการเจือปนของNOM, Fe2+และ Mn2+ โดยที่ความเข้มข้นของไดโคฟอลที่ใช้เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร และความเข้มขั้นของ NOM,Fe2+ และ Mn2+ ที่ใช้อยู่ในช่วง 0-50 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า Mn2+ มีประสิทธิภาพการกำจัดไดโคฟอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ Mn2+ โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดได้ 100% ที่ความเข้มขั้น Mn2+ เท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร และตรงข้ามกับในกรณีของ NOM และ Fe2+ พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ NOM และ Fe2+ ประสิทธิภาพการกำจัดไดโคฟอลมีแนวโน้มลดลง โดยที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพการกำจัดเท่ากับ 62.43 และ 45.32 เปอร์เซ็นต์ ของ NOM และ Fe2+ ตามลำดับ ส่วนผลของการศึกษาการยับยั้งของ NOM และ Fe2+ พบว่าเป็นการยับยั้งแบบไม่แข่งขันและแบบแข่งขัน ตามลำดับ ในขณะที่ Mn2+ ช่วยส่งเสริมการกำจัดไดโคฟอลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectยาฆ่าแมลงen_US
dc.subjectไดโคฟอลen_US
dc.subjectเอนไซม์แลคเคสen_US
dc.titleผลของสภาวะแวดล้อมและจลนพลศาสตร์ของแลคเคส ต่อการกำจัดไดโคฟอลen_US
dc.title.alternativeEffect of Environmental Conditions and Kinetics of Laccase on Dicofol Removalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.