Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิวพร ศุภประภาวณิชย์en_US
dc.contributor.authorภาวิศุทธิ แก่นจันทร์en_US
dc.contributor.authorวีรนุช ทองงามen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:17Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:17Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 49-62en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_428.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67318-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของสารกระตุ้นปฏิกิริยาที่ปราศจากแสงในเรซินซีเมนต์ต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์กับเนื้อฟัน เมื่อใช้ร่วมกับวัสดุบูรณะที่ทึบแสงหรือแสงผ่านได้บางส่วน วิธีการวิจัย: นำฟันกรามแท้ซี่ที่สามของมนุษย์ตัดผิวฟันให้เนื้อฟันเผยผึ่งเป็นระนาบ สุ่มแบ่งชิ้นทดสอบเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ใช้รีไลย์เอ็กซ์อัลติเมตเรซินซีเมนต์ร่วมกับซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ (RXU+SBU) กลุ่มที่ 4, 5 และ 6 ใช้เนกซัสทรีเรซินซีเมนต์ร่วมกับออฟติบอนด์เอ็กซ์ทีอาร์ (NX3+XTR) กลุ่มที่ 7, 8 และ 9 ใช้เนกซัสทรีเรซินซีเมนต์ร่วมกับออฟติบอนด์ ออลอินวัน (NX3+AIO) โดยกลุ่มที่ 1, 4 และ 7 ยึดแท่งเรซินคอมโพสิตโปร่งแสงด้วยเรซินซีเมนต์แต่ละชนิดบนเนื้อฟัน ฉาย แสง 5 ด้าน ด้านละ 20 วินาที กลุ่มที่ 2, 5 และ 8 ยึดแท่งเรซินคอมโพสิตทึบแสงด้วยเรซินซีเมนต์ ฉายแสงด้านบนแท่งเรซินคอมโพสิตทึบแสง 20 วินาที ทิ้งไว้ในกล่องทึบแสงนาน 6 นาที ส่วนกลุ่มที่ 3, 6 และ 9 ยึดแท่งเรซินคอมโพสิตทึบแสงด้วยเรซินซีเมนต์ ไม่ฉายแสงแต่ทิ้งไว้ในกล่องทึบแสงนาน 6 นาที นำชิ้นงานทั้งหมดแช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นทดสอบกลุ่มละ 15 ชิ้นทดสอบไปหาค่าความแข็งแรงยึดเฉือน ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนในกลุ่มที่ทำการยึดติดด้วยเรซินซีเมนต์ และได้รับการฉายแสงทั้ง 5 ด้านมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉายแสงบางส่วนอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉายแสงมีค่าต่ำสุด (p<0.05) โดยกลุ่มที่ได้รับการฉายแสง กลุ่ม RXU+SBU มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนมากกว่ากลุ่ม NX3+XTR และกลุ่ม NX3+AIO แต่กลุ่มที่ไม่ได้รับการฉายแสงไม่มีความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนในเรซินซีเมนต์ทั้ง 3 กลุ่ม สรุปผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนที่ได้จากการใช้สารยึดติดร่วมกับเรซินซีเมนต์ หากไม่มีการฉายแสงเพื่อเริ่มต้นปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันมีค่าต่ำมากสารกระตุ้นปฏิกิริยาที่ปราศจากแสงในเรซินซีเมนต์อาจไม่สามารถทำให้สารยึดติดเกิดพอลิเมอร์ไรเซชันที่สมบูรณ์ได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสารกระตุ้นปฏิกิริยาที่ปราศจากแสงen_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.subjectสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์en_US
dc.subjectความแข็งแรงยึดเฉือนen_US
dc.titleผลของสารกระตุ้นปฏิกิริยาที่ปราศจากแสงในเรซินซีเมนต์ต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์en_US
dc.title.alternativeEffect of Dark Cure Activators in Resin Cements on Shear Bond Strength of Self-etch Adhesivesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.