Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67315
Title: ผลของระยะเวลาของการปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรดฟอสฟอริกต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบนพื้นผิวเคลือบฟันที่แตกต่างกัน
Other Titles: The Effect of Different Phosphoric Acid-etching Times on Microtensile Bond Strength of Sealant on Different Enamel Substrates
Authors: พงษ์สิริ ใจคำปัน
กีรติ เกียรติตั้ง
ตะวัน แสงสื่อ
ตวงรัชต์ เลิศบุษยานุกูล
วุฒพล สาแดง
พนมกร ใจกว้าง
กฤตภาส ฟูแสง
อิสรพงษ์ ไทยนิมิต
มยุรัชฎ์ พิพัตภาสกร
Authors: พงษ์สิริ ใจคำปัน
กีรติ เกียรติตั้ง
ตะวัน แสงสื่อ
ตวงรัชต์ เลิศบุษยานุกูล
วุฒพล สาแดง
พนมกร ใจกว้าง
กฤตภาส ฟูแสง
อิสรพงษ์ ไทยนิมิต
มยุรัชฎ์ พิพัตภาสกร
Keywords: ความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค;วัสดุ เคลือบหลุมร่องฟัน;ระยะเวลาการกัดด้วยกรด;ผิวเคลือบฟัน
Issue Date: 2560
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 101-112
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาของการใช้กรดฟอสฟอริกปรับสภาพผิวเคลือบฟันต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบนผิวเคลือบฟันที่แตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ: นำฟันกรามแท้มาเตรียมชั้นเคลือบฟันให้เรียบ แล้วสุ่มแบ่งเป็น 7 กลุ่ม โดยจำแนกเป็นกลุ่มผิวฟันปกติ (CS) กลุ่มรอยผุจำลองในระยะเริ่มแรกบนผิวเคลือบฟัน (CD) และกลุ่มรอยผุจำลองในระยะเริ่มแรกที่มีการคืนกลับแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟันด้วยการทาฟลูออไรด์วานิชความเข้มข้นร้อยละ 5 (CR) จากนั้นเตรียมผิวเคลือบฟันด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37.5 ที่เวลา 10 วินาที (10) 15 วินาที (15) และ 25 วินาที (25)เคลือบผิวเคลือบฟันด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันคอนไซส์แล้วนำมาตัดและกรอแต่งชิ้นตัวอย่างให้เป็นรูปนาฬิกาทรายจากนั้นนำไปวัดค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคและทำการตรวจสอบการแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ผลการศึกษา: กลุ่ม CD25 มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคที่ต่ำกว่ากลุ่ม CD10 และ CD15 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่ม CR10 CR15 และ CR25 นั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคทุกกลุ่มกับกลุ่มควบคุม (CS15) พบว่ามีเพียงกลุ่ม CD25 ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) พบความล้มเหลวของการยึดติดทั้ง 4 ประเภทได้ในกลุ่ม CS15 CD15 และ CD25 ส่วนกลุ่ม CD10 CR10 CR15 และ CR25 นั้นไม่พบความล้มเหลวเชื่อมแน่นภายในผิวเคลือบฟัน นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างของผิวเคลือบฟันถูกทำลายและมีรูพรุนขนาดใหญ่มากขึ้นในกลุ่ม CD25 และ CR25 สรุปผลการศึกษา: การเคลือบหลุมร่องฟันลงบนผิวเคลือบฟันที่มีรอยผุระยะเริ่มแรกและรอยผุระยะเริ่มแรกที่มีการคืนกลับแร่ธาตุสามารถทำได้ โดยเพื่อประสิทธิภาพที่ดีของการยึดติด ผิวเคลือบฟันที่มีรอยผุระยะเริ่มแรกไม่ควรปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดนานเกินกว่าที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดหรือประมาณ 15 วินาที ในขณะที่การเคลือบหลุมร่องฟันลงบนผิวเคลือบฟันที่มีการคืนกลับแร่ธาตุแล้ว สามารถทำการปรับสภาพได้ตามปกติ โดยระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 25 วินาที กลับไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการยึดติด ซึ่งอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิก
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_440.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67315
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.