Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67306
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มารศรี ชัยวรวิทย์กุล | en_US |
dc.contributor.author | ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:14Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:14Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 87-96 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____450.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67306 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของทันตแพทย์ภายหลังผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มทันตแพทย์ 65 คน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเอสพีเอสเอส (SPSS) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแรกคือ ปัจจัยจากตัวทันตแพทย์หมายถึงความรู้ความชำนาญของทันตแพทย์ การได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำงาน และการเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ปัจจัยที่สองคือปัจจัยแวดล้อม ประกอบด้วย ระบบการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่ทันตแพทย์ประจำอยู่ ศักยภาพของทีมบุคลากร ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่จัดตั้งขึ้นด้วย นอกจากนี้ จากผลดังกล่าวชี้ว่าการเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพแก่ทันตแพทย์ในการดูแลรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ทันตแพทย์ | en_US |
dc.subject | การจัดการเบื้องต้นในผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ของทันตแพทย์ภายหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ | en_US |
dc.title.alternative | Influencing Factors on Initial Management of Cleft Lip and Palate Patients by Dentists after Training Workshop | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.