Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67297
Title: | ผลของด้านสัมผัสบริเวณด้านประชิดต่อแรงที่เกิดขึ้นบนรากเทียมรองรับฟันเทียมชนิดคานยื่น 2 หน่วย |
Other Titles: | Effect of Interproximal Contact on Load Transfer by Implant-supported 2-unit Cantilevered Prostheses |
Authors: | ภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์ ชาย รังสิยากูล ทิวสน สายสีนพคุณ พิมพ์เดือน รังสิยากูล |
Authors: | ภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์ ชาย รังสิยากูล ทิวสน สายสีนพคุณ พิมพ์เดือน รังสิยากูล |
Keywords: | รากฟันเทียม;คานยื่น;สเตรนเกจ;บริเวณสัมผัส;ด้านประชิด |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2560) 110-121 |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลของการสัมผัสบริเวณด้านประชิดกับแรงที่เกิดขึ้นบนรากเทียมรองรับฟันเทียมติดแน่นชนิดคานยื่น 2 หน่วย วัสดุและอุปกรณ์: เตรียมชิ้นงานโดยการฝังรากเทียม (Brånemark system® Mk III TiUnite® , Nobel Biocare, Sweden) ขนาดยาว 10 มิลลิเมตร 2 ตัวในแท่งเรซินอะคริลิกเสมือนเป็นแท่งกระดูกโดยวางตั้งฉากในตำแหน่งฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งและฟันกรามซี่ที่หนึ่ง ทำการติดสเตรนเกจ (model C2A-13-031 WW-350, Vishay Micro-Measurements Group Inc., Raleigh, North Carolina) ที่บริเวณตำแหน่งยอดสันกระดูกด้านใกล้กลางและไกลกลางของรากเทียมซี่กรามน้อยซี่ที่หนึ่ง จากนั้น ทำการทดสอบชิ้นงานด้วยเครื่องทดสอบสากล (UTM.,Instron 5566; MA, U.S.A.) โดยใช้ แรงกดแนวดิ่งขนาด 200 นิวตันที่ตำแหน่งห่างจากจุดศูนย์กลางของรากเทียมซี่กรามน้อยที่หนึ่งทางด้านไกลกลาง 10 มิลลิเมตร แบ่ง รูปแบบการสัมผัสบริเวณด้านประชิดของสิ่งบูรณะบนรากเทียมออกเป็น 4 รูปแบบคือ 1) ไม่มีด้านประชิดหรือฟันเทียมชนิดคานยื่น 2) มีด้านประชิดสัมผัสขนาด 1x1 ตารางมิลลิเมตร 3) มีด้านประชิดสัมผัสขนาด 3x3 ตารางมิลลิเมตร 4) ยึดสิ่งประดิษฐ์เป็นชิ้นเดียวกัน จากนั้นนำค่าความเครียดมาวิเคราะห์และคำนวณ เพื่อหาค่าแรงเครียดสูงสุดที่เกิดขึ้นในแต่ละรูปแบบซึ่งจะนำค่าที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวโดยพิจารณาจากระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยของความเครียดสูงสุดมีค่าต่ำสุดในกลุ่มที่มีการเชื่อมติดกันบริเวณด้านประชิดและมีค่าสูงสุดในกลุ่มที่ไม่มีด้านประชิด ส่วนความเครียดสูงสุดที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่มีด้านประชิดสัมผัสขนาด 1x1 ตารางมิลลิเมตรและกลุ่มที่มีด้านประชิดสัมผัสขนาด 3x3 ตารางมิลลิเมตร ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้ยังพบว่าความเครียดสูงสุดบริเวณด้านไกลกลางของรากเทียมมีค่ามากกว่าบริเวณด้านใกล้กลางในทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่มที่มีการเชื่อมติดกันของด้านประชิด (p – value < 0.05) บทสรุป: พบการกระจายแรงที่ดีที่สุดในกลุ่มฟันเทียมติดแน่นบนรากเทียมที่มีการเชื่อมติดกันบริเวณด้านประชิด และขนาดของพื้นที่สัมผัสด้านประชิดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเครียดสูงสุด |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_3_465.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67297 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.