Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรสรวง วงศ์สวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorจินดารัตน์ ชัยอาจen_US
dc.contributor.authorนิตยา ภิญโญคำen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 81-92en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135608/101327en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67281-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการรักษาของแพทย์ เพื่อสามารถควบคุมและลดการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 64 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการจับคู่ แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) แบบสัมภาษณ์ความร่วมมือในการรักษาในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3) แผนกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 4) คู่มือความรู้ 5) สมุดบันทึกการติดตามการให้ความร่วมมือในการรักษาของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ 6) สมุดบันทึกการให้ความร่วมมือในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ (Mann-Whitney U-test) ผลการวิจัยพบว่า จำนวนครั้งเฉลี่ยของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา ช่วยลดความถี่ของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในผู้ที่เป็นโรคนี้ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า จำนวนครั้งเฉลี่ยของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา ช่วยลดความถี่ของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในผู้ที่เป็นโรคนี้ต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความร่วมมือในการรักษาen_US
dc.subjectกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาen_US
dc.subjectการกำเริบของโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.titleผลของกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อการกำเริบของโรค ในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeEffects of Therapeutic Regimen Adherence Enhancing Strategies onExacerbations Among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.