Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67277
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวารี นิระโสen_US
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ปานอุทัยen_US
dc.contributor.authorณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 61-70en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135603/101318en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67277-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเตรียมความพร้อมในการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นสิ่งสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ได้แก่ เพศ ลักษณะการอยู่อาศัย ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายโดยรวม ด้านเนื้อหาการสอน และด้านทักษะการสอนและการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อายุระหว่าง 60-80 ปี จำนวน 100 ราย ที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพังงา โรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และแพทย์มีแผนการจำหน่ายสู่บ้าน รวบรวมข้อมูลด้วยการใช้ แบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายและแบบสอบถามการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟี สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากโรงพยาบาล (=181.55,SD=13.62) และคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย (=151.05, SD=11.44)อยู่ในระดับสูง การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายอยู่ในระดับดี (=111.83,SD=6.23) คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายด้านทักษะการสอนเป็นตัวทำนายที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .586 และปัจจัยทำนายทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย เพศ ลักษณะการอยู่อาศัย ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายและการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย สามารถทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ร้อยละ 34.3 ผลของการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาล และบุคลากรด้านสุขภาพในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในการดูแลตนเองที่บ้านโดยการปรับปรุงทักษะการสอนก่อนจำหน่ายและการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย คำสำคัญ: ผู้สูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้สูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันen_US
dc.subjectความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลen_US
dc.subjectคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายen_US
dc.subjectการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายen_US
dc.titleปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ของผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันen_US
dc.title.alternativePredicting Factors of Readiness for Hospital Discharge among Older Patients with Acute Myocardial Infarctionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.