Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรสวรรค์ คิดค้าen_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิทธิสมบัติen_US
dc.contributor.authorจินดารัตน์ ชัยอาจen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 71-80en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135605/101323en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67274-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลตนเองไปตลอดชีวิต พฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมช่วยควบคุมอาการและป้องกันการกำเริบของภาวะหัวใจล้มเหลว การทบทวนอย่างเป็นระบบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปองค์ความรู้ของวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีประสิทธิผลในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ตามแนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนา บริกส์ โดยการสืบค้นอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 11 ฐานข้อมูล และการสืบค้นด้วยมือจากรายการเอกสารอ้างอิง ผลการสืบค้นอย่างเป็นระบบพบงานวิจัยที่เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งหมด 24 เรื่อง เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 18 เรื่อง และงานวิจัยกึ่งทดลอง จำนวน 6 เรื่อง ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูลที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนา บริกส์ ใช้การสรุปเชิงเนื้อหาในการอธิบายวิธีการและประสิทธิผลของวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ผลของการทบทวนอย่างเป็นระบบ พบว่าวิธีการที่มีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การสนับสนุนและให้ความรู้ การสนับสนุนทางสังคม และการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ วิธีการนี้มีการออกแบบวิธีวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ และให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการนำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการที่ไม่สามารถยืนยันประสิทธิผล มีการศึกษาน้อยและควรมีศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ การติดตามภาวะสุขภาพทางไกล การใช้โปรแกรมการจัดการตนเอง และการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเอง การทบทวนอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะ 3 วิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว การนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ควรพิจารณาตามลักษณะของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ความพร้อมและความเหมาะสมกับบริบทของระบบบริการสุขภาพen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.subjectวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.titleวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.title.alternativeInterventions for Promoting Self-care Behaviors Among Persons with Heart Failure: A Systematic Reviewen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.