Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67261
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วราภรณ์ บุญเชียง | en_US |
dc.contributor.author | จีราพร ทองดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 138-150 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148058/108996 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67261 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วต้องเร่งพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพให้ตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ ถึงแม้วิวัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่จะสูงขึ้นอย่างมหาศาลทำให้การดูแลไม่พียงพอและไม่ทั่วถึง จะต้องนำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพเข้ามาใช้ในการป้องกันโรค ให้ข้อมูล หรือฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุ เป้าหมายคือการเข้าถึงบริการสุขภาพและได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาประเทศสู่ โมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และมุ่งเน้นภาคบริการมากขึ้น โดยมีการขับเคลื่อน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ 1) อาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ 2) สาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) เครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4) ดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวและ 5) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง นโยบายดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก สามารถตอบสนองอุปสงค์ของปัญหาและสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบัน และในอนาคตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุ จะต้องทบทวนแนวทางการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมรรถนะของพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ระบบการบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | โมเดลประเทศไทย 4.0 | en_US |
dc.title | ระบบการบริการสุขภาพผู้สูงอายุกับ“โมเดลประเทศไทย 4.0” | en_US |
dc.title.alternative | Healthcare Service System for the elderly and Thailand 4.0 Model | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.