Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67257
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กรรณิกา อุ่นอ้าย | en_US |
dc.contributor.author | กนกพร สุคำวัง | en_US |
dc.contributor.author | วิชยา เห็นแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | รัญชนา หน่อคำ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐวรรณ พินิจสุวรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (2) (ธ.ค. 2560), 1-11 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169189/121714 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67257 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เมื่อประชากรวัยสูงอายุเพิ่มมากขึ้นย่อมเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆตามมา การประเมินสมรรถภาพสมองเป็นการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อค้นหาการเกิดภาวะสมองเสื่อมซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้มากที่สุดในวัยสูงอายุ เนื่องจากการเกิดภาวะสมองเสื่อมมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุในทุกด้านและนำไปสู่ความรุนแรงในระยะสุดท้าย ทั้งนี้สามารถป้องกันหรือชะลอความรุนแรงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพสมอง พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพสมองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และคณะ (Pender et al., 2006) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัยจำนวน 111 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีสมรรถภาพสมองปกติไม่มีภาวะสมองเสื่อม โดยมีคะแนนอยู่ในช่วง 18-28 คะแนน ( = 24.22, S.D. = 2.07) 2.กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.71, S.D. 0.25) 3.สมรรถภาพสมองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ( r= -.126, p > .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการวางแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สมรรถภาพสมอง | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.title | สมรรถภาพสมองและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย | en_US |
dc.title.alternative | Mental Status and Health Promoting Behaviors among Older Persons in Pa-aordonchai Subdistrict Municipality | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.