Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67249
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลินยา เทสมุทรen_US
dc.contributor.authorทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorอดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 45-56en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148033/108979en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67249-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัด จำเป็นต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา การวิจัยเชิงทำนายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัด และอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม ตามกรอบแนวคิดการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 2006) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัด ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเลือด งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 จำนวน 75 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันการติดเชื้อ ด้านการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการป้องกันเลือดออกง่าย และด้านการปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะโลหิตจางอยู่ในระดับสูง 2.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัด โดยสามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ร้อยละ 20.9 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัด ดังนั้นจึงควรส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในประชากรกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการพยาบาลที่ดีขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectปัจจัยทำนายen_US
dc.subjectมะเร็งเม็ดเลือดขาวen_US
dc.subjectมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์en_US
dc.subjectเคมีบำบัดen_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Health Behaviors among Persons with Acute Myeloblastic LeukemiaReceiving Chemotherapyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.