Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorตรัยชัชญาญ์ ไชยวุฒิขจรen_US
dc.contributor.authorพิกุล นันทชัยพันธ์en_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 1-11en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135530/101273en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67234-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคในผู้ที่เป็นมะเร็งเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวอย่างประเทศไทย ทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นมะเร็งจำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติทางคลินิก การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 ราย เลือกมาอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่เป็นมะเร็งที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่ง ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามประกอบด้วย 3 องค์ประกอบของทัศนคติ คือ 1) ด้านความเข้าใจ 2) ด้านอารมณ์ความรู้สึก และ 3) ด้านพฤติกรรมปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. สำหรับทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 98.40 มีคะแนนทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนทัศนคติอยู่ในระดับสูงในด้านความเข้าใจ (ร้อยละ 98.93) ด้านอารมณ์ความรู้สึก (ร้อยละ 89.12) และด้านพฤติกรรมปฏิบัติ (ร้อยละ 96.29) 2.สำหรับทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการพยากรณ์โรค กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 96.82 มีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนทัศนคติอยู่ในระดับสูงทั้งด้านความเข้าใจ (ร้อยละ 96.29) ด้านอารมณ์ความรู้สึก (ร้อยละ 82.76) และด้านพฤติกรรมปฏิบัติ (ร้อยละ 94.96) ผลของการวิจัยครั้งนี้ แสดงถึงทัศนคติที่ดีต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นมะเร็ง ซึ่งควรประเมินความต้องการและทัศนคติของผู้ที่เป็นมะเร็งก่อนที่ตัดสินใจสู่การปฏิบัติทางคลินิก การวิจัยครั้งต่อไปควรมีการค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคแก่ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบอกความจริงen_US
dc.subjectการวินิจฉัยโรคen_US
dc.subjectการพยากรณ์โรคen_US
dc.subjectผู้ที่เป็นมะเร็งen_US
dc.titleทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นมะเร็งen_US
dc.title.alternativeAttitude Towards Truth Telling about Diagnosis and Prognosis of Disease among Persons with Canceren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.