Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกฤษฎา วีระพงศ์en_US
dc.contributor.authorมนตรี จันทรมังกรen_US
dc.contributor.authorPeter A Reicharten_US
dc.contributor.authorปฐวี คงขุนเทียนen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 121-130en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_435.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67233-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractที่มา: จากผลสำเร็จที่สูงของรากฟันเทียม จึงมีการนำรากฟันเทียมมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีการ สูญเสียฟันธรรมชาติ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรักษาทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรากฟันเทียมเพื่อยึดครอบฟันติดแน่น ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียมคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 วิธีการ: ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรากฟันเทียม ระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 จากบัตรบันทึกประวัติการรักษา ผู้ป่วยทุกคนจะถูกเรียกกลับมาติดตามผลการรักษาหลังจากใช้งานรากฟันเทียมไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี โดยเกณฑ์ที่ใช้ประเมินความสำเร็จของรากฟันเทียมพิจารณาจากรากเทียมนั้นสามารถคงสภาพอยุ่ในช่องปากได้โดยไม่ต้องมีการนำรากเทียมออกโดยการประเมินลักษณะทางคลินิกของรากเทียมอ้างอิงโดยข้อตกลงปิซ่า รวมทั้งทำการเก็บข้อมูลของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา: ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 มีผู้ป่วยจำวน 98 คน 156 รากได้รับการรักษาด้วยรากฟันเทียมยึดครอบฟันติดแน่น โดยจากกลุ่มผู้ป่วย 98 คน สามารถเรียกกลับมาเพื่อติดตามผลการรักษาได้ทั้งสิ้น 60 คน รวม 110 ราก โดยพบว่าจากจำนวนนี้ มีรากเทียมที่ล้มเหลวไปทั้งสิ้น 3 ตัว คิดเป็นร้อยละ 2.73 อัตราความสำเร็จของรากเทียมจึงอยุ่ที่ร้อยละ 97.27 ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการเกิดสกรูหลักยึดรากเทียมหลวม ร้อยละ 15.45 การละลายของกระดูกที่เกิดขึ้นรอบๆ รากเทียมส่วนใหญ่เป็นรูปแบบแนวนอนและไม่เกิน 1 มิลลิเมตร สรุปและอภิปรายผล: จากผลการศึกษาพบว่าการใช้รากฟันเทียมเพื่อยึดครอบฟันติดแน่นมีอัตราความสำเร็จที่สูงถึงร้อยละ 97.27 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านๆมาการเกิดสกรูยึดหลักรากเทียมหลวมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นสูงที่สุดร้อยละ 15.45 ดังนั้นการเรียกผู้ป่วยเพื่อกลับมาติดตามผลการรักษาจะช่วยในการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆของรากเทียมได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรากฟันเทียมen_US
dc.subjectภาวะแทรกซ้อนจากการท�ำรากฟัน เทียมen_US
dc.subjectความสำเร็จของการทำรากฟันเทียมen_US
dc.subjectการใส่ฟันเทียม ชนิดติดแน่นen_US
dc.titleความสำเร็จของการรักษาด้วยรากฟันเทียมยึดครอบฟันติดแน่น ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeClinical results of implant treatment in a Center of Excellence for Implantology Clinic: A retrospective clinical studyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.