Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67231
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พุทธิพร พิธานธนานุกูล | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 12-25 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136130/101601 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67231 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและปัญหาด้านจิตสังคม ดังนั้นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพกาย ความสามารถเชิงปฏิบัติ สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนเพื่อดูแลผู้สูงอายุได้ การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่พัฒนาโดยผ่องพรรณ อรุณแสงและคณะ (2552) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในด้าน 1) สุขภาพกาย พบว่าส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีฟันที่ใช้งานได้มากกว่า 20 ซี่ ผู้สูงอายุมีการรับรู้ภาวะสุขภาพในระดับดี รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพเท่ากันกับบุคคลวัยเดียวกัน ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว โดยโรคประจำตัว 3 อันดับแรกที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.6 โรคเบาหวาน ร้อยละ 14.9 และโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 12.6 ปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุพบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาการนอนหลับ การมองเห็น การเคลื่อนไหว และปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพาน้อย รวมทั้งด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุไม่มีภาวะพึ่งพา 2) สุขภาพจิต พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า 3) สุขภาพทางสังคม พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับบุตรสาว มีผู้ดูแลหลักคือบุตร แหล่งช่วยเหลือทางด้านการเงินส่วนใหญ่ผู้สูงอายุได้รับเงินจากบุตร สามารถจัดการกับค่ารักษาพยาบาลได้เมื่อเจ็บป่วย และไม่มีความกังวลเรื่องเงิน แหล่งสนับสนุนด้านจิตสังคม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีบุคคลที่ไว้วางใจ และมีบุคคลที่สามารถพูดคุยด้วยเมื่อกังวลใจ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ และการจัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในมิติต่างๆ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | ภาวะสุขภาพ | en_US |
dc.title | ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ | en_US |
dc.title.alternative | Health Status of Older Persons Living in Yaplong, District, Srisaket Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.