Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67226
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนิษฐา พิพิธวิทยาen_US
dc.contributor.authorรัชนีกร อุปเสนen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, ฉบับพิเศษ (ธ.ค. 2562), 60-69en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/232510/158898en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67226-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractในประเทศไทยพบว่ามีความชุกของการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังอยู่ระหว่างร้อยละ 26-36การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวช โรงพยาบาลอ่างทอง และผู้ดูแลหลักที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 40 ครอบครัว คัดเลือกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 ครอบครัว และกลุ่มควบคุม 20 ครอบครัว โดยการจับคู่ด้วย ระยะเวลาการเจ็บป่วย และระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของเบค กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติในด้านลบ และ 5) แบบวัดทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 3, 4 และ 5 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ.82, .95 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบทีผลการวิจัยพบว่าภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ภายหลังได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ำกว่าจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของครอบครัวen_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนen_US
dc.titleผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Cognitive Behavioral Therapy Combined with Family Participation on Depression of Persons with Schizophrenia in Communityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.