Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ลัชชี ชัชวรัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | ดวงฤดี ลาศุขะ | en_US |
dc.contributor.author | ทศพร คำผลศิริ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46, ฉบับพิเศษ (ธ.ค. 2562), 1-12 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/232200/158844 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67217 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายเกินกว่าปกติเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต การออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะช่วยลดไขมันในร่างกายของผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิก ต่อค่าดัชนีมวลกายและขนาดเส้นรอบวงเอวในผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 34 รายโดยการสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 ราย และกลุ่มควบคุม 17 ราย กลุ่มทดลองได้ออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิก ครั้งละ 55 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมออกกำลังกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติสำหรับการกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกในผู้สูงอายุ คู่มือการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ไม้นอร์ดิก เครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจแบบไร้สาย และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล สายวัด เครื่องชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิก มีค่าน้อยกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2.ค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3.ขนาดเส้นรอบวงเอวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิก มีค่าน้อยกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 4.ขนาดเส้นรอบวงเอวของกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิก | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.subject | ดัชนีมวลกาย | en_US |
dc.subject | เส้นรอบวงเอว | en_US |
dc.title | ผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกต่อดัชนีมวลกายและเส้นรอบวงเอว ในผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Nordic Walking Exercise on Body Mass Index and Waist Circumference Among Overweight Older Persons | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.